ใช้วิธีการแก้ไขยีนให้ได้ลูกไก่ตามเพศที่ต้องการ ช่วยลดฆ่าลูกไก่ปีละนับล้านตัว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในการผลิตไก่ไข่ มีเพียงไก่ตัวเมียเท่านั้นที่ผลิตไข่ได้ ดังนั้นลูกไก่ตัวผู้แรกเกิดจำนวนหลายล้านตัวจึงถูกกำจัดออกไปในแต่ละปี แต่การกระทำที่ดูจะโหดร้ายเช่นนี้สามารถยุติได้ด้วยวิธีแก้ไขยีน ซึ่งจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการที่จะให้ยุติการคัดแยก (กำจัด) ลูกไก่ตัวผู้ออกเมื่ออายุได้ 1 วัน เนื่องจาก ลูกไก่ตัวผู้ดังกล่าวไม่เหมาะสำหรับการผลิตไข่หรือเนื้อ

เพื่อที่จะยุติการคัดแยกดังกล่าว นักวิจัยจาก Kent’s School of Biosciences และ Francis Crick Institute ได้ทำการศึกษาและพบว่า พวกเขาสามารถผลิตลูกไก่ที่เป็นตัวเมียเท่านั้นหรือที่เป็นตัวผู้เท่านั้น ด้วยอัตราความสำเร็จที่100 เปอร์เซ็นต์และได้กล่าวในการแถลงข่าวสรุปงานของพวกเขาว่า

“ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการทำฟาร์ม มักมีความจำเป็นสำหรับการใช้สัตว์ตัวผู้หรือตัวเมีย” “ตัวอย่างเช่น การวิจัยในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของตัวผู้หรือตัวเมีย ที่ต้องการศึกษาเฉพาะในสัตว์เพศที่กำลังศึกษาอยู่”

Charlotte Douglasหนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า “วิธีการแก้ไขยีนนี้ใช้ได้ผล โดยแบ่งกระบวนการแก้ไขจีโนมออกเป็น2 ส่วน ระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะมาบรรจบกันในตัวอ่อนผ่านการผสมพันธุ์เท่านั้น และทำให้ตัวอ่อนที่มาจากการแก้ไขยีนทั้ง2 ส่วนไม่สามารถพัฒนาได้เกินกว่าระยะเซลล์แรกเริ่ม”

นอกจากนี้ยังไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการแก้ไขยีนในรุ่นลูกที่รอดตายอีกด้วย

ครับ สรุปง่าย ๆ ได้ว่านักวิจัยสามารถผลิตลูกไก่ที่มีเพศตามต้องการได้ด้วยวิธีแก้ไขยีน และมีอัตราความสำเร็จที่ 100 เปอร์เซ็นต์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.farminguk.com/news/implications-for-egg-sector-after-mice-gene-editing-breakthrough_59476.html