การผลิตข้าวเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การปลูกข้าวต้องใส่น้ำให้ท่วมแปลง ซึ้งน้ำที่ท่วมแปลงนั้นจะกันไม่ให้ออกซิเจนลงสู่ดิน ทำให้จุลินทรีย์ที่ผลิตก๊าซมีเทนเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้การผลิตข้าวมีส่วนทำให้เกิดมีเทนมากถึง 34 ล้านตันต่อปี หรือประมาณร้อยละ 2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในจำนวนนั้น ครึ่งหนึ่งมาจากจีนและอินเดียรวมกัน

เนื่องจากความซับซ้อนของประชากรจุลินทรีย์เป็นอุปสรรคสำคัญในการค้นหาเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันโรคและการพัฒนาการเกษตร โดยเฉาพะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกอันตราย ที่ปล่อยออกมาระหว่างการผลิตข้าว

ทำให้นาข้าวเป็นเสมือนปล่องควันสำหรับก๊าซมีเทนในดิน และในการปิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีความเข้าใจจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนก่อน แต่ก็มีปัญหาคือการเพาะเลี้ยงประชากรจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องมือแบบเดิมๆ “อาจใช้เวลาหลายปีหรืออาจล้มเหลวโดยสิ้นเชิง” แต่จากงานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่าการใช้CRISPRสามารถ “เร่งกระบวนการศึกษานี้ให้เร็วขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์”

Timothy Searchingerนักวิชาการอาวุโสด้านการวิจัยที่ศูนย์วิจัยนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน(Princeton University’s Center for Policy Research on Energy and the Environment)มีความยินดีต่อความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรม ที่เป็นเทคนิคที่นำไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

ครับ เป็นเอกสารที่ยืนยันให้เห็นถึงศักยภาพที่หลากหลายของเทคนิด CRISPR และในอนาคตคงมีแนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากการผลิตข้าว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.bloomberglaw.com/environment-and-energy/scientists-see-a-path-to-curbing-methane-in-rice-green-insight