สรุปสัมมนาของ ISAAA เน้นขับเคลื่อนภาครัฐ-เอกชนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      เมื่อเร็วๆนี้ ISAAA  (International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications) และเครือข่ายศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Information Centers) ร่วมกับ Murdoch University ประเทศออสเตรเลีย ได้จัดสัมมนาผ่านเว็บที่เน้นถึงการพัฒนาพืชที่มาจากการแก้ไขยีน(gene-edited (GEd) plant) บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกฎระเบียบล่าสุดในเอเชียและออสเตรเลีย

      การสัมมนาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการแบ่งปันความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าระหว่างประเทศของผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขยีน

     การสัมมนาผ่านเว็บเรื่อง Food Futures: Commercialization of Gene-edited Crops in Asia and Australia จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผ่าน Zoom และจัดโดย ISAAA SEAsiaCenter มีผู้เข้าร่วม 168 คน จาก 41 ประเทศ

     ในจำนวนนี้มีบุคคลากรจากประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และปากีสถาน ได้รับเชิญให้มาพูดคุยและเน้นย้ำถึงมุมมองของประเทศต่างๆ ในด้านการวิจัย แนวทางนโยบาย และนัยของการค้าในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายของประเทศในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแก้ไขยีนเพื่อการค้า พืชแก้ไขยีนที่ใกล้จะได้รับการส่งเสริม และผลประโยชน์ที่เป็นไปได้ที่เกิดจากความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม วิทยากร

     บุคลากรเหล่านี้ ประกอบด้วย Dr. Wei Xun รองศาสตราจารย์ University of Science and Technology ในกรุงปักกิ่ง Dr. Mieko Kasai ศาสตราจารย์ประจำอยู่ที่ Center for Environment, Health and Field Science ใน Chiba University ประเทศญี่ปุ่น Dr. S. R. Rao รองอธิการบดี Sri Jalaji Vidyapeeth University Puducherry of India และ Dr. Shahid Mansoor ผู้อำนวยการ National Institute for Biotechnology and Genetic Engineering ปากีสถาน

      นอกจากนี้ ยังเชิญบุคลากรจากภาคอุตสาหกรรมให้พูดถึงมุมมองที่เกี่ยวกับแนวทางนโยบายการวิจัยและนัยต่อตลาดและการค้า ประกอบด้วย Osman Mewett ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Australian Seeds Federation และ Dr. Khay Khoo ผู้จัดการฝ่ายกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีชีวภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ BASF ที่ได้ให้มุมมองและข้อมูลเชิงลึกของภาคอุตสาหกรรม

     ในระหว่างการอภิปราย มีการพูดถึงกันว่า จีนไม่มีนโยบายด้านการกำกับดูแลที่ดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น แต่สภาแห่งรัฐของจีนหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีหน้าที่จัดการกำกับดูแลดังกล่าว และ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามในเชิงการค้าของบริษัทเอกชน ที่ผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ

      อีกหัวข้อหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ ความสอดคล้องของกฎระเบียบจะที่เกิดขึ้นได้อย่างไร หากประเทศต่างๆ มีกฎระเบียบของตนเอง และผลกระทบนี้จะส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพอย่างไร

     ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ Dr. Mewett ได้กล่าวว่า ประเทศที่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม ดูเหมือนจะมีความสามารถในการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อกำกับดูแลพืชแก้ไขยีนได้มากกว่า เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของอาหารอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นของกฎระเบียบอีกด้วย

      การสัมมนาผ่านเว็บนี้ดำเนินรายการโดย Dr. Rhodora Romero-Aldemita ผู้อำนวยการ ISAAA SEAsiaCenter, Mr. Panfilo de Guzman ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ของ ISAAA SEAsiaCenter และนาย Muhammad Adeel นักการทูตอาชีพที่ Ministry of Foreign Affairs ปากีสถาน และนักวิชาการระดับปริญญาเอกที่ WA State Agricultural Biotechnology Centre ในออสเตรเลีย และ Michael Jones ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรแห่งรัฐ WA (State Agricultural Biotechnology Centre – SABC) เป็นผู้กล่าวปิดการสัมมนา

     สามารถชมบันทึกการสัมมนาผ่านเว็บได้จากFacebook ของ ISAAA.org และหากมีคำถามใด ๆ โปรดส่งไปที่ knowledge.center@isaaa.org

     ครับ สำหรับท่านที่สนใจแต่ไม่สามารถติดตามในวันดังกล่าว ก็สามารถรับชมบันทึกการสัมมนาได้