ถึงเวลาประเทศไทยควรคิดใหม่เรื่องการต่อต้านเทคโนโลยีชีวภาพ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    ประเทศไทยต้องการ “กรอบความคิดใหม่” ในการนำเทคโนโลยีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organism – GMO) ที่เป็นข้อขัดแย้งมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชีวภาพ ภายใต้ต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (bio-, circular and green (BCG) economic model) ของรัฐบาล

    คุณหญิงทองทิพย์  รัตนะรัต ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย  กล่าวว่า เทคโนโลยี GMO สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์/ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่จำกัด เพื่อรองรับรูปแบบเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด รวมถึงการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เพื่อผลิตพลังงาน อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่น ๆ โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

      ผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้นสามารถป้องกันไม่ให้เกษตรกรกลับไปบุกรุกป่า เพื่อทำการเพาะปลูก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากในประเทศไทยมาหลายปีแล้ว เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ และอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์และแปรรูปเท่านั้น

      “เรามีผลิตภัณฑ์ GMO มากมายในครัวของเรา และเรากินมันมาหลายปีแล้ว โดยไม่มีผลกระทบด้านลบ แล้วทำไมเราถึงกลัวพวกมัน” คุณหญิงทองทิพย์ กล่าว

     ครับ จะมีใครในภาครัฐ จะสร้างกรอบความคิดใหม่ในเรื่องนี้หรือไม่?

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpost.com/business/2214047/study-backs-adoption-of-gmo-tech