FAO ชี้สถานการณ์อาหารและการเกษตรท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ในปี 2564 จำเป็นต้องมีความยึดหยุน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ในรายงานที่เพิ่งเผยแพร่ โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ (Food and Agriculture Organization of the United Nations – FAO) ว่าด้วยสภาวะอาหารและการเกษตร (State of Food and Agriculture – SOFA) ปี 2564 เรื่อง Making Agrifood Systems More to Shock and stresses(การสร้างระบบอาหารทางการเกษตรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อการกระแทกและความเครียด)

      รายงานชิ้นนี้ระบุว่า ถ้าขาดการเตรียมการที่เหมาะสมจะทำให้เกิดแรงกระแทกที่คาดเดาไม่ได้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบอาหารทางการเกษตรทั่วโลก

     ระบบอาหารทางการเกษตร (Agrifood Systems) ต้องเผชิญกับแรงกระแทกและความเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ่งนี้ทำให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารทั่วโลกรวมถึงการขาดสารอาหาร ดังนั้นจึงต้องดำเนินการที่จำเป็นเพื่อทำให้อาหารทางการเกษตรมีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น

   SOFA 2021 เน้นย้ำถึงตัวชี้วัดระดับประเทศเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของระบบอาหารทางการเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ

     ดังนั้น จึงสามารถใช้ประเมินความสามารถของระบบอาหารทางการเกษตรแห่งชาติในการดูดซับแรงกระแทกและความเครียด ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของความยืดหยุ่น

      รายงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แนวทางเกี่ยวกับนโยบายที่ส่งเสริมความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานอาหาร สนับสนุนการดำรงชีวิตในระบบอาหารทางการเกษตร และรับประกันการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย เพียงพอ และมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับประชากรโลกอย่างยั่งยืน

     ครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเรียนรู้แนวทางในการสร้างความยืดหยุ่นของระบบอาหาร ซึ่งสามารถดาวน์โหลดรายงานนี้ได้จาก https://www.fao.org/newsroom/detail/fao-agrifood-systems-agriculture-resilience-SOFA-covid/en