นักวิจัยในแคนาดา ยืนยันการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม-ใช้ไกลโฟเสต ลดการปล่อยคาร์บอนได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     การศึกษาที่ดำเนินการในจังหวัด Saskatchewan ของแคนาดา ยืนยันว่า การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช และการใช้ไกลโฟเสตเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งในรายงานผลการศึกษา ผู้เขียนระบุว่า ประเทศที่ห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมและจำกัดการใช้ไกลโฟเสตกำลังดำเนินนโยบายที่จะไม่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการเกษตร

     วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ การตรวจสอบปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการจัดการที่ดินในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยสังเกตว่า การควบคุมวัชพืชผ่านการไถพรวนอย่างต่อเนื่องได้หายไปเกือบหมด เนื่องจากระบบการจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่เปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่องโดยไม่รบกวนดินหรือรบกวนดินน้อยที่สุด และนักวิจัยใช้ Century Model เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่

      ผลการศึกษาพบว่า การปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวมีนัยสำคัญในการกักเก็บคาร์บอน และได้ระบุว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช และการใช้ไกลโฟเสตเป็นตัวขับเคลื่อนของการกักเก็บคาร์บอนในดินที่เพิ่มขึ้น

       การกำจัดการไถพรวนและการใช้ดินรบกวนน้อยที่สุด ที่เป็นผลมาจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช และการใช้ไกลโฟเสตช่วยลดการปล่อยคาร์บอนระหว่างการไถพรวนในการผลิตพืชอย่างต่อเนื่อง

       ฉะนั้นการค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรใน Saskatchewan กำลังลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเพาะปลูก และมีส่วนสนับสนุนต่อวัตถุประสงค์ด้านสภาพอากาศของประเทศแคนาดา

      นักวิจัย ระบุว่า การกำจัดหรือจำกัดการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช และการใช้ไกลโฟเสตอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างจะส่งผลเสียต่อความยั่งยืน

      ครับ รัฐบาลไทยน่าจะพิจารณาเป็นหนึ่งกิจกรรมที่สนับสนุนเป้าหมายการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2071-1050/13/21/11679