โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
หลังจากปลดปล่อยพันธุ์กาแฟที่ต้านทานโรคเหี่ยวแล้ว นักวิทยาศาสตร์เกษตรชาวยูกันดาได้เริ่มพัฒนากาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่ทนทานต่อสภาพแล้งเช่นกัน แต่เนื่องจากยูกันดาไม่มีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ นักวิจัย ระบุว่าพวกเขาไม่สามารถใช้เครื่องมือแก้ไขยีน เช่น CRISPR-Cas เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ได้ แต่พวกเขาคาดว่ากระบวนการพัฒนาพันธุ์ที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี
ยูกันดาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกกาแฟโรบัสต้าชั้นนำในแอฟริกา และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในแอฟริกาตะวันออกประมาณ 559 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว แต่ต้นกาแฟถูกคุกคามมากขึ้นจากความแห้งแล้งและรูปแบบสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้อื่นๆ กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์หาทางแก้ไข
Betty Magambo นักวิจัยจากสถาบันวิจัยกาแฟแห่งชาติ (National Coffee Research Institute – NaCORI) กล่าวว่า “เราต้องพัฒนาพันธุ์กาแฟให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ การพัฒนาของสิ่งแวดล้อมทำให้มีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อยลง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถนิ่งเฉยได้ เราต้องให้ทางเลือกแก่เกษตรกร”
ส่วน Dr. Godfrey Sseremba เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโสของ NaCORI ในเมือง Kituuza กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้เครื่องหมายช่วยการคัดเลือก(marker assisted selection) ในการพัฒนาพันธุ์กาแฟทนแล้ง
“เราได้จำแนกพันธุ์กาแฟป่าที่ทนแล้งและได้ศึกษาความเข้าใจในองค์ประกอบของความทนแล้ง” Sseremba อธิบาย และระบุว่า “ได้พบเชื้อพันธุกรรมกาแฟที่มีความหลากหลายในลักษณะทนแล้ง”
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามผสมข้ามกับสายพันธุ์ป่าอย่างระมัดระวังกับพันธุ์โรบัสต้าที่ต้านทานโรคเหี่ยวของกาแฟจากนั้นลูกผสมที่ได้จะปลูกในโรงเรือนและในพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาน้ำเพื่อสังเกตประสิทธิภาพ
Sseremba กล่าวอีกว่า ได้ใช้เครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก พันธุ์กาแฟที่ทนต่อสภาพแล้งได้ และ เนื่องจากเรารู้อยู่แล้วว่ายีนชนิดใดทนแล้ง เราเพียงแค่เก็บตัวอย่างจากใบของลูกผสมเหล่านี้และทดสอบในห้องแล็บเพื่อตรวจสอบว่ามี DNA ที่ทนแล้ง”หลังจากนี้นักวิทยาศาสตร์จะใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายสายพันธุ์ที่ต้องการซึ่งมีทั้งความต้านทานโรคและลักษณะทนแล้ง
ครับ ถ้าใช้วิธีการแก้ไขยีนได้ ก็อาจใช้เวลาในการพัฒนาสั้นลงได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2021/11/01/ugandan-scientists-developing-drought-tolerant-coffee-varieties-to-save-valuable-cash-crop/