เบื้องลึกพลิกโฉมภาคเกษตรศรีลังกาสู่ “เกษตรอินทรีย์” กับความหายนะที่กำลังมาเยือน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว “ศรีลังกา” คือ สวรรค์เขตร้อนที่มีต้นปาล์มที่พลิ้วไหวและน้ำทะเลสีฟ้าคราม รวมถึงชาซีลอนที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่อาจสนใจข่าวเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมืองของศรีลังกา แต่ที่ผ่านมาข่าวที่เกี่ยวกับ “เศรษฐกิจตกต่ำ” และ “เกษตรอินทรีย์” คนส่วนใหญ่มักไม่สนใจ

      อย่างไรก็ดี ล่าสุดได้มีการพาดหัวข่าวที่ดึงดูดให้คนส่วนใหญ่กลับมาสนใจ เช่น การที่ศรีลังกาปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ในชั่วข้ามคืน ได้นำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจ” และต่อมา“ศรีลังกาประกาศภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมราคาอาหารเนื่องจากวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนที่เลวร้ายลง

      เมื่อพิจารณาถึงเบื้องลึกในประเด็นดังกล่าว ก็ทำให้ได้ความกระจ่างมากขึ้น นั่นคือ ประธานาธิบดี Gotabaya Rajapaksa แห่งศรีลังกา มาจากอาชีพทหารที่เห็นได้ชัดว่าไม่ได้มีความเข้าใจด้านชีววิทยาหรือเกษตรกรรม ได้ยอมจำนนต่อเสียงเรียกร้องที่สมคบคิดกับนักปราชญ์ในตำนานที่มีชื่อเสียงและมายาวนานจากอินเดีย นั่นคือ นาง Vandana Shiva

       Rajapaksa ได้ทำตามคำแนะนำของ นาง Vandana Shiva โดยสั่งห้ามการนำเข้าปุ๋ยและสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูซึ่งเป็นการเริ่มต้นไปสู่เป้าหมาย ที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจการเกษตรของศรีลังกา ให้เป็นองค์กรเกษตรอินทรีย์ล้วนๆ

      ทว่า…ในความเป็นจริงเกษตรอินทรีย์ได้ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของศรีลังกาลดลงอย่างมากและยังมีตลาดที่จำกัด ซึ่งไม่ได้อยู่ในการคำนวณของ Rajapaksa และผู้มีส่วนได้เสียที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจการเกษตรที่กำลังเตือนถึงหายนะที่ตามมาอย่างอย่างคิดไม่ถึง โดยเริ่มจากมูลค่าตลาดส่งออกชาศรีลังกาที่เดิมเคยมีสูงถึง1.5 พันล้านดอลลาร์ ปัจจุบันกลับมีมูลค่าเหลือเพียงครึ่งเดียว

      ครับ ประเทศไทยต้องดูตัวอย่างจากศรีลังกา

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://itif.org/publications/2021/09/23/how-sri-lankas-organic-decree-created-trouble-paradise