คืนชีพตลาดฝ้ายในเคนยา ด้วยพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     แม้ฝ้ายจะหายไปจากพื้นที่ราบลุ่มทางตะวันออกของเคนยาเมื่อเกือบสามทศวรรษที่ผ่านมาและเมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์การเลิกปลูกฝ้ายได้ขยายไปถึงพื้นที่ปลูกฝ้ายอีก 24 แห่งที่เหลือในประเทศ ทำให้เกษตรกรยากจนท่ามกลางรายได้ที่สูญเสียไปแต่ผู้แปรรูป สหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าอื่นๆ ยังคงพยายามที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฝ้ายให้ดำเนินต่อไป

    จากสถานการณ์ที่น่าเสียใจดังกล่าว ปัจจุบันฝ้ายกำลังเรียกคืนตำแหน่งในกลุ่มผู้ทำรายได้จากต่างประเทศของเคนยาด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในการยอมรับพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม

     Milton Katia เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย กล่าวว่า “ขณะนี้ฉันกำลังปลูกฝ้ายที่เป็นพันธุ์ฝ้ายลูกผสมพันธุ์ใหม่ (ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม) ที่รัฐบาลจัดให้เมื่อปีที่แล้ว ที่ให้ผลผลิตสูงและเก็บเกี่ยวเร็ว ซึ่งดีกว่าพันธุ์ HART 89ที่ใช้ปลูกทั่วไป”

     ฝ้ายพันธุ์ใหม่นี้คาดว่า จะกระตุ้นอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ปิดตัวมานาน นอกจากยี้ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของภาคการผลิตในท้องถิ่น และคาดว่าการผลิตฝ้ายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ก้อน (bales) (ประมาณ 4,340 เมตริกตัน) ต่อปีเป็น 200,000 ก้อนต่อปี

    ครับ ยินดีด้วยกับประเทศเคนยาที่สามารถรื้อฟื้นการเพาะปลูกฝ้ายและอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม สำหรับประเทศไทยคงหมดโอกาส

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.news.cn/english/africa/2021-09/11/c_1310182158.htm