การทำเกษตรอินทรีย์ยังมีข้อจำกัดบางอย่างในการให้ประโยชน์ทางโภชนาการ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      ด้วยแรงกระตุ้นทางการค้าและข้อความส่งเสริมการขายที่กล่าวถึงประโยชน์ต่างๆ ของอาหารออร์แกนิก (organic food คือ อาหารที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น) ทำให้ความต้องการอาหารออร์แกนิกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการชะลอตัวของสินค้าออร์แกนิกบางประเภทในช่วงที่ผ่านมา

      จากการสำรวจของ Agence Bio พบว่า ความต้องการนี้ มีสาเหตุหลักมาจากคุณภาพทางโภชนาการของอาหารออร์แกนิกที่ถูกกล่าวถึง มีข้อยกเว้นบางประการ ที่วิธีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ได้เพิ่มปริมาณสารอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในอาหาร 

     การพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอล (polyphenols เป็นสารพฤกษเคมีกลุ่มใหญ่ที่พบได้ในพืชผักผลไม้ทั่วไป มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและลดภาวะการอักเสบ รวมทั้งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรัง (NCDs) ต่างๆ) ที่บางครั้งอาจสูงกว่าในผลไม้ออร์แกนิก

     แต่กระนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญอีกมาก โดยเฉพาะสายพันธุ์ และระยะของการเจริญเติบโตของพืชที่เป็นตัวกำหนดปริมาณของสารโพลีฟีนอล ผักออร์แกนิกบางชนิดในบางครั้งก็พบว่ามีปริมาณไนเตรตที่น้อยกว่าในกรณีที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนต่ำ

     ในทางกลับกัน ธัญพืชออร์แกนิกที่รวมถึงข้าวสาลีก็มีโปรตีนต่ำกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำขนมปัง สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นมออร์แกนิกในบางครั้งก็มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโอเมก้า 3 ในปริมาณที่มากกว่า แต่ก็เป็นกรณีที่คล้ายคลึงกับนมธรรมดาทั่วไปที่ได้มาจากวัวที่เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์สีเขียว (green fodder) หญ้า หรือทุ่งหญ้าอาหารสัตว์

        ดังนั้นเมื่อพูดถึงคุณภาพทางโภชนาการของอาหารออร์แกนิกจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ ระยะของการเจริญเติบโต หรืออายุ ฤดูกาลและสภาพอากาศ เป็นต้น และเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว อาหารออร์แกนิกก็ไม่ได้มีคุณภาพทางโภชนาการที่ดีกว่าอาหารปกติ

         ครับ เป็นการรายงานที่แสดงให้เห็นว่า การเชื่อว่าอาหารออร์แกนิกมีคุณภาพทางโภชนาการอาจไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพทางโภชนาการของอาหาร

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.europeanscientist.com/fr/opinion/les-freins-et-limites-de-lalimentation-bio/