โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเบ (Kobe University) ประเทศญี่ปุ่น และสถาบัน Agrobioinstitute ประเทศบัลแกเรีย ได้พัฒนาวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting chemicals – EDC) ในน้ำในแม่น้ำโดยใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มียีนจากปลาเมดากะ (medaka fish – ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น หรือ ปลาซิวข้าวสารจิ๋ว)ผลการศึกษาถูกตีพิมพ์ในวารสารChemosphere
GM Arabidopsis (พืชต้นแบบดัดแปลงพันธุกรรม) เมื่อสัมผัสกับ 4-t-octylphenol (OP) ซึ่งเป็น EDC เพียง 5 ng/mL จะผลิตโปรตีนเรืองแสงสีเขียว (green fluorescent protein – GFP) ในระดับที่ตรวจพบได้ ซึ่งเป็นการแสดงออกของยีนตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเมดากะ (medaka estrogen receptor genes) แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีการใหม่ในการถ่ายฝากยีนของสัตว์เข้าไปในพืชเพื่อแสดงออกจำเพาะต่อสารเคมีอันตราย แต่นี่เป็นการศึกษาครั้งแรกที่มีการใช้ยีนของปลา
การทดสอบวิธีนี้เผยให้เห็นว่า พืชเมดากะสามารถตรวจจับ OP ได้ดีกว่าวิธีก่อนหน้านี้ที่ทีมวิจัยได้เคยพัฒนามาถึง 1,000 เท่า พืชเมดากะยังสามารถตรวจจับ EDC อื่น ๆ เช่นฮอร์โมนเพศ17β-oestradiol สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู imidacloprid และ fipronil และสารก่อมลพิษ perfluorooctane sulfonate
ครับ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นตัวตรวจวัดระดับของสารเคมีที่เป็นอันตรายที่อยู่ในน้ำ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://chemicalwatch.com/310420/scientists-propose-using-plants-with-fish-genes-to-monitor-edcs-in-rivers