ฟิลิปปินส์อนุญาตแล้ว ให้ใช้มะเขือม่วงบีทีเป็นอาหาร-อาหารสัตว์-การแปรรูป เป็นประเทศที่สองของโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      หลังจากที่ได้ทำการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดใน DOST-DA-DENR-DOH-DILG Joint Department Circular (JDC) No. 1, Series of 2016, กรมวิชาการเกษตรของฟิลิปปินส์(Philippine Department of Agriculture)-สำนักอุตสาหกรรมพืช(Bureau of Plant Industry) (DA-BPI) ได้อนุญาตมะเขือม่วงบีที กรณี (event)’EE-1′ สำหรับใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ หรือเพื่อการแปรรูป (FFP)

     พร้อมกันนี้ได้ออกใบอนุญาตด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เลขที่ 21-078FFP มะเขือม่วงบีที หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า บีทีตาลอง(Bt talong) พบว่ามีความปลอดภัยเที่ยบเท่ากับมะเขือม่วงปกติ และได้ส่งใบอนุญาตนี้ไปยังมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ University of the PhilippinesLos Baños (UPLB)

      มะเขือม่วงบีที มีโปรตีนจากแบคทีเรียในดิน Bacillus thuringiensis ซึ่งทำให้มีความต้านทานต่อหนอนเจาะต้นและผล (eggplant fruit and shoot borer – EFSB) ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายรุนแรงที่สุดของมะเขือม่วง โปรตีนบีที มีผลต่อหนอน EFSB เท่านั้น และปลอดภัยสำหรับมนุษย์ สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม และแมลงที่ไม่ใช่เป้าหมาย Dr. Lourdes D. Taylo

     หัวหน้าโครงการวิจัยมะเขือม่วงบีทีจาก UPLB อธิบายว่า “มะเขือม่วงบีทีมีความปลอดภัยสำหรับมนุษย์ สัตว์ และแมลงที่ไม่ใช่เป้าหมาย เนื่องจากกำหนดเป้าหมายไปที่ EFSB เท่านั้น “

     การอนุญาตสำหรับ FFP ของมะเขือม่วงบีทีเป็นก้าวล่าสุดในกระบวนการกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพในฟิลิปปินส์ เพื่อให้กระบวนการกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพเสร็จสมบูรณ์ มะเขือม่วงบีทีจะต้องได้รับการอนุญาตสำหรับการขยายพันธุ์เชิงพาณิชย์ เพื่อประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ

     การประเมินผลกระทบในอดีตของการนำมะเขือม่วงบีทีไปใช้ แสดงให้เห็นว่าการจำหน่ายมะเขือม่วงบีทีในเชิงพาณิชย์จะเพิ่มผลผลิตที่จำหน่ายในท้องตลาดได้ถึงร้อยละ192 และลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ร้อยละ 48 เมื่อได้รับการอนุญาตให้ปลดปล่อยในเชิงพาณิชย์ เมล็ดพันธุ์มะเขือม่วงบีทีที่เป็นพันธุ์ผสมเปิดและพันธุ์ลูกผสมก็จะมีจำหน่ายสำหรับเกษตรกรฟิลิปปินส์

      ฟิลิปปินส์และบังคลาเทศเป็น2 ประเทศที่รับรองความปลอดภัยของมะเขือม่วงบีที และบังกลาเทศเป็นประเทศแรกที่ปลูกมะเขือม่วงบีทีในปี 2557 จากปี 2557 ถึง 2562 มีเกษตรกรรายย่อยจำนวน 91,270 รายในบังคลาเทศปลูกมะเขือม่วงบีที

       ครับ ประเทศไทยคงยังไม่มีโอกาสปลูกและบริโภคมะเขือม่วงบีที

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isaaa.org/blog/entry/default.asp?BlogDate=7/23/2021