การแก้ไขยีนเป็นความหวังที่ใช้ในการต่อสู้กับความแห้งแล้ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธุ์ เอี่ยวสุภาษิต

   ในขณะที่ความแห้งแล้งปรากฎเพิ่มขึ้นและยังไม่มีวิธีการแก้ไขได้ในปัจจุบันรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์กลัวว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะแห้งแล้งครั้งใหญ่ที่อาจกินเวลานานหลายทศวรรษนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรจึงมองหาการแก้ไขยีนด้วย CRISPR

    เนื่องจากการเกษตรส่วนใหญ่ต้องพึงพาอาศัยน้ำ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อันเป็นผลจากความแห้งแล้งสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหาร คือ ผลผลิตที่ลดลง และมีราคาสูงขึ้นสำหรับผู้บริโภค

    วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้และกำลังจะเกิดขึ้นสำหรับเกษตรกรและผู้บริโภค คือ การแก้ไขยีน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาได้อย่างรวดเร็วช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ด้านพืชสามารถเปลี่ยนแปลง DNA เป้าหมายของพืชได้ โดยใช้เอนไซม์ เช่น CRISPR เพื่อเปิดหรือปิดการแสดงออกของยีน

    นักวิจัยจาก University of Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกเพียงยีนเดียว สามารถผลิตพืชต้นแบบที่ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 โดยไม่สูญเสียผลผลิต เทคนิคนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้ได้กับพืชอาหารหลายชนิด

    ในขณะเดียวกัน ทีมนักวิจัยจากรัฐ Iowa ได้ทำงานเกี่ยวกับข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้นภายใต้สภาวะแห้งแล้ง และเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ China Agricultural University ในกรุงปักกิ่ง ก็ประสบความสำเร็จในการแก้ไขยีนในมะเขือเทศเพื่อเพิ่มความทนทานความเครียดที่เกิดจากความร้อน

    ครับ ความก้าวหน้าเช่นนี้ทำให้เกิดความหวังอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://innovature.com/article/could-gene-editing-be-answer-agricultural-droughts