นานาทรรศนะประชาชนต่อการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขจีโนมใน 5 ประเทศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

 

     นักวิจัยจาก University of Göttingen ในเยอรมนีและ University of British Columbia ในแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ได้ตรวจสอบดูว่าพลเมืองใน 5 ประเทศมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการใช้งานการแก้ไขจีโนม (genome editing) ที่แตกต่างกันในการเกษตร การใช้งานแบบใดบ้างที่ได้รับการยอมรับ และความเสี่ยงและประโยชน์ของเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์แบบใหม่นี้จะถูกประเมินอย่างไร

     ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยใน 5 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี แคนาดา ออสเตรีย และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ในทั้ง 5 ประเทศ การเปลี่ยนแปลงจีโนมของพืชเป็นที่ยอมรับมากกว่าปศุสัตว์

    ทั้งนี้เป็นการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2562 มี 3,700 คนจาก5 ประเทศเข้าร่วมทำแบบสำรวจออนไลน์ วิเคราะห์การใช้งานที่แตกต่างกัน 5 ตัวอย่างในการแก้ไขยีน การใช้งาน 3 ตัวอย่างเกี่ยวข้องกับการต้านทานโรคใน คน พืช และ สัตว์อีก 2 การใช้งานเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่แตกต่างกันสำหรับชนิดพันธุ์เดียวกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือปริมาณในวัว

     Dr. Gesa Busch จาก University ofGöttingen กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการดัดแปลงยีนมีบทบาทสำคัญในการประเมิน และหากใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้สัตว์มีความทนทานต่อโรค การยอมรับจะมีมากกว่าการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสัตว์

     อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามมีปฏิกิริยาแตกต่างกันอย่างมากกับการใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบใหม่ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ 4 กลุ่มที่แตกต่างกันคือ ผู้สนับสนุนเต็มที่ ผู้สนับสนุน เป็นกลาง และผู้ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยี

      ผู้ที่สนับสนุนเทคโนโลยีเต็มที่ (ร้อยละ 21) มองเห็นความเสี่ยงและข้อดีหลายประการ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ต่อต้านหรือไม่เห็นด้วย (ร้อยละ 24) รับรู้ถึงความเสี่ยงที่ร้ายแรงและสนับสนุนการห้ามใช้เทคโนโลยีโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น

      ครับ ไม่ว่าเรื่องใด ๆ จะมีคนอยู่ 3 กลุ่ม คือเห็นด้วย ไม่มีความคิดเห็น และไม่เห็นด้วย เสมอ ขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะตัดสินใจบนพื้นฐานอะไร

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.uni-goettingen.de/de/3240.html?id=6332