6 ประเทศในแอฟริกาใต้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพอย่างคึกคัก ชาวไนจีเรียกว่า 2 พันคนเริ่มถั่วพุ่มจีเอ็มแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ในปี 2562มี 6 ประเทศในแอฟริกาได้นำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้เพาะปลูก เพื่อต่อสู้กับความท้าทายในการผลิตพืช หนึ่งในผู้ปลูกพืชดัดแปลงพันุกรรมจากทวีปนี้คือไนจีเรีย โดยมีเกษตรกรกว่า 2,000 รายปลูกถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2564

     ถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมที่ว่านี้ พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรีย ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านทานแมลงศัตรูที่เข้าทำลายฝัก

     ผลที่ได้คือ เกษตรกรสามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูได้อย่างมากและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมนี้ คาดว่าจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงด้านอาหารในขณะเดียวกันก็พัฒนาการดำรงชีวิตของเกษตรกร

     นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่าเกษตรกรในเคนยาได้ทำการเก็บเกี่ยวฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือน นับตั้งแต่ประเทศเริ่มปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูเป็นครั้งแรก

     ตามรายงานขององค์การ ISAAA เคนยาคาดว่าจะเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา จีน ปากีสถาน และบราซิล จากการปลูกฝ้ายบีทีและทำการตลาดผลิตภัณฑ์ในประเทศและต่างประเทศหลังจากผ่านร่างกฎหมายพืชเส้นใย(Fibre Crops Legislative Bill)

     นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรวิจัยการเกษตรแห่งชาติของยูกันดา (Uganda’s National Agricultural Research Organization) ได้รายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานโรคแผลขีดสีน้าตาลของมันสำปะหลัง(cassava brown streak disease) ซึ่งส่งผลกระทบต่อพืชอาหารในประเทศ แต่เกษตรกรในยูกันดายังไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ผ่านกฎหมายเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ(biotechnology and biosafety law)

      ครับ เป็นความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมจากบางประเทศในทวีปแอฟริกา

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2021/05/26/viewpoint-2000-nigerian-farmers-are-reaping-benefits-from-genetically-modified-bt-cowpea-other-african-countries-could-leverage-similar-biotechnology-tools/?mc_cid=58b8eb1505&mc_eid=f2025e9b8e