ถึงเวลาที่อินเดียจะทำการเกษตรแบบแม่นยำ ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      ศักยภาพของพันธุวิศวกรรมนั้นยิ่งใหญ่มาก โดยเฉพาะเทคนิคการแก้ไขยีน(gene editing)จะเปิดโอกาสในการรักษาโรคทางพันธุกรรม ในทำนองเดียวกันกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่กำลังมีความก้าวหน้าในการปรับปรุงการผลิตพืช บนพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ

     หลังจากที่อินเดียได้อนุญาตให้มีการปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้า หลายองค์กรได้ลงทุนทั้งทรัพยากรและความพยายามเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่มีลักษณะทางการเกษตรและทางคุณภาพตามต้องการ โดยหวังว่าจะได้รับอนุญาตให้มีการเพาะปลูกเชิงการค้าได้

     เช่นเดียวกัน Bt brinjal (มะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานหนอนเจาะต้นและผล) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีดังกล่าวที่ถูกแนะนำให้ใช้ในเชิงการค้าตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2552 หลังจากเสร็จสิ้นการประเมินความปลอดภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของมนุษย์ตามกฎระเบียบ ที่ใช้เวลานานถึง 7 ปีแต่ยังอยู่ในระหว่างการห้ามปลูก

      การห้ามปลูกนี้เกิดจากการต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างไร้เหตุผลตามอุดมการณ์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ปกติอินเดียนำเข้าน้ำมันพืชที่ใช้ในการบริโภคมากกว่า 15 ล้านตันต่อปีซึ่งกว่าร้อยละ 25 เป็นน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา ที่มาจากถั่วเหลืองและคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกทั่วอเมริกา และฝ้ายกว่าร้อยละ 95 ที่ปลูกในอินเดียเป็นฝ้ายบีที (ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม) และน้ำมันเมล็ดฝ้ายประมาณ 1.4 ล้านตันผลิตจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมรวมทั้งยังมีการคัดค้านการใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้กับเกษตรกรผู้ปลูกมัสตาร์ด (พืชเครื่องเทศ)

      ผู้ได้รับรางวัลโนเบลกว่า 100 คนได้ออกแถลงการณ์เมื่อปี 2559 โดยรับรองในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิภาพของพืชเทคโนโลยีชีวภาพ ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรของอินเดียจะเปลี่ยนไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำโดยใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

      ถึงเวลาของประเทศไทยแล้วหรือยังครับ?

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://indianexpress.com/article/opinion/columns/biotechnology-farming-india-7280709/