พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือไม่?

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

        ที่ Center for Science in the Public Interest(CSPI) หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อสาธารณประโยชน์ ได้ตอบคำถามที่ว่าการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือไม่และเจาะลึกในส่วนที่เกี่ยวกับสารกำจัดวัชพืช

      คำตอบนี้มีอยู่ในรายงานฉบับใหม่ เรื่อง “การทำความเข้าใจผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช” และนี่คือการคำตอบที่ปรากฎในรายงาน:

  • พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูจะเกี่ยวข้องกับการลดลงของการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอย่างมีนัยสำคัญในพืชทุกชนิดที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานแมลงศัตรู
  • พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ทำให้การใช้ไกลโฟเสตและสารเคมีกำจัดวัชพืชโดยรวมเพิ่มขึ้นในข้าวโพดถั่วเหลืองและฝ้าย แต่เป็นไปเช่นเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นในพืชที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม เช่นข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์
  • อย่างไรก็ตามแนวโน้มในการใช้สารกำจัดวัชพืช ควรที่จะวัดจากการเปลี่ยนแปลงของความเป็นพิษ (ปริมาตรของความเป็นพิษ) มากกว่าการใช้ปริมาณแต่เพียงอย่างเดียวเนื่องจากการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืชได้เปลี่ยนส่วนผสมของสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้
  • ความเป็นพิษเฉียบพลันของการใช้สารกำจัดวัชพืชโดยรวมหลังจากการแนะนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมลดลงสำหรับพืชหลักทั้ง3 ชนิด (ข้าวโพดถั่วเหลืองและฝ้าย) และความเป็นพิษเรื้อรังของสารกำจัดวัชพืชลดลงร้อยละ78 ในถั่วเหลือง แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ7 ในข้าวโพดและร้อยละ91 ในฝ้าย

      รายงานนี้ได้เรียกร้องให้มีความระมัดระวังในการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอนาคตซึ่งจากแนวโน้มล่าสุดอาจส่งผลคุกคามต่อความคืบหน้าของการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้

     ครับ เป็นที่แน่นอนแล้วว่าการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดลง เมื่อใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู แต่การใช้สารกำจัดวัชพืชยังมีปัญหาเมื่อคิดจากปริมาณการใช้ แต่ถ้าพิจารณาจากความเป็นพิษ ยังมีความผันแปร

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cspinet.org/news/biotech-blog-do-ge-crops-increase-use-pesticides-20210415