เกษตรกรบังกลาเทศแห่ปลูกมะเขือม่วงบีทีต้านทานโรค

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       เริ่มจากเกษตรกรในประเทศบังลาเทศเพียง 20 รายในปี 2557 มะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานแมลงศัตรู หรือมะเขือม่วงบีที เป็นพืชที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย ทำให้มีเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือม่วงบีทีมากถึง 65,000 รายในปีนี้ (2564) และกลายเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพที่ขยายตัวได้เร็วที่สุดในบังกลาเทศ

     มะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับหนอนเจาะผลและต้น (fruit and shoot borer – FSB) ที่เคยทำความเสียหายจำนวนมากในพื้นที่ปลูกมะเขือม่วงของบังกลาเทศ แต่ที่ผ่านมาพบว่าไม่ใช่อีกต่อไป

      จากความสำเร็จอย่างมากในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่มีการขยายตัวเร็วที่สุดในบังกลาเทศ ขณะนี้นักปรับปรุงพันธุ์กำลังพัฒนาพันธุ์มะเขือม่วงพันธุ์ใหม่ที่สามารถต้านทาน FSB และโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทั้งFSB และโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทำให้พืชผลเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับมะเขือม่วง ซึ่งเป็นผักที่ถูกบริโภคมากเป็นอันดับ2 ในบังคลาเทศรองจากมันฝรั่ง

     ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรที่ปลูกมะเขือม่วงบีทีมีรายได้สูงขึ้นถึงร้อยละ55 เมื่อเทียบกับเกษตรกรรายอื่นที่ปลูกมะเขือม่วงพันธุ์ทั่วไปที่ไม่ใช่บีทีมะเขือม่วงบีที ได้รับการพัฒนาโดยการใส่ยีนCry1Ac ที่ได้มาจากแบคทีเรียในดิน Bacillus thuringiensis ในจีโนมของมะเขือม่วงพันธุ์ที่ใช้ปลูก

      ขณะนี้มีพืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่มีการวางจำหน่ายและอยู่ระหว่างการพัฒนาในบังกลาเทศซึ่งรวมถึงข้าวสีทองที่อุดมด้วยวิตามินเอมันฝรั่งที่ต้านทานเชื้อแบคทีเรียมะเขือเทศต้านทานใบหงิกและฝ้ายบีที

     ครับ ในขณะที่มะเขือม่วงบีทีสามารถต้านทานแมลงศัตรูได้แล้ว ยังมีความพยายามที่จะพัฒนาต่อเพื่อให้ต้านทานโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในบังกลาเทศ รอดูความสำเร็จครับ

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dhakatribune.com/business/2021/04/06/breeders-developing-doubly-resistant-brinjal-varieties