โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เอกสารตีพิมพ์ชุดแรก ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับข้อมูลการทดลองของข้าวสีทอง GR2E สามารถหาอ่านกันได้ในวารสาร Nature Scientific Reports และ Frontiers in Plant Science journals บทความเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การแสดงออกทางการเกษตรของพันธุ์ข้าวสีทอง(Golden Rice) ที่พัฒนาในฟิลิปปินส์และบังกลาเทศ
ผลการวิจัยที่สำคัญบ่งชี้ว่า ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดข้าว สามารถเทียบได้กับพันธุ์ข้าวพันธุ์เดิมที่ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา ((conventional counterparts) ได้แก่ IR64, PSBRc82 และ BRRI dhan 29
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ข้าวสีทองที่พัฒนาโดยมีภูมิหลังทางพันธุกรรมของพันธุ์ท้องถิ่นที่แตกต่างกันมีเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) เพียงพอ ซึ่งมากกว่าร้อยละ30 โดยประมาณจากความต้องการเฉลี่ย (estimated average requirement – EAR) สำหรับวิตามินเอในเด็ก และยังพบว่าช่วงเวลาในการเพาะปลูกมีผลกระทบต่อปริมาณเบต้าแคโรทีนการเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าการเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง แต่ก็ยังอยู่ในระดับเป้าหมายที่กำหนด
การศึกษาที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบและลักษณะโมเลกุลและการประเมินความปลอดภัยแสดงให้เห็นว่าข้าวสีทอง มีความปลอดภัยเทียบเท่าข้าวปกติ แต่มีประโยชน์จากเบต้าแคโรทีนที่เพิ่มขึ้นในเมล็ดข้าว
ครับ ชี้ให้เห็นว่าพันธุกรรมของข้าวสีทองสามารถถ่ายทอดไปยังพันธุ์ข้าวท้องถิ่น โดยไม่ทำให้ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดเปลี่ยนไป เพียงแต่มีประโยชน์จากเบต้าแคโรทีนที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญมีความปลอดภัยเทียบเท่าข้าวปกติ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.irri.org/news-and-events/news/initial-peer-reviewed-publications-golden-rice-biosafety-data-completed