โดย…ดร.นิพนธิ์ เอี่ยมสุภาษิต
ปัจจุบันเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืชสามารถพบได้ในร้านอาหารจานด่วน (fast-food restaurants) ทั่วโลก
และนมที่มาจากพืชก็เป็นอาหารหลักในครัวเรือน ทางเลือกในการใช้จุลินทรีย์ก็มีมานานหลายทศวรรษแล้ว
รวมทั้งยังสามารถลิ้มรสเนื้อสัตว์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ในร้านอาหารในสิงคโปร์และอิสราเอลด้วย
ในไม่ช้าผู้บริโภค จะสามารถทำอาหารยอดนิยมของโลกได้ถึง 9 ใน 10 จาน โดยเฉพาะอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์ที่มีโครงสร้างน้อย เช่น เนื้อบดที่มีโปรตีนทางเลือกที่มีราคาสมเหตุสมผล
สิ่งที่พบเห็นในปัจจุบันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่มาของโปรตีนเท่านั้น ซึ่งภายในปี 2578 หลังจากที่โปรตีนทางเลือกมีความเท่าเทียมกันทั้งรสชาติ เนื้อสัมผัสและราคาเมื่อเที่ยบกับโปรตีนจากสัตว์ทั่วไปแล้ว ร้อยละ 11 ของเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดที่บริโภคกันทั่วโลก ก็น่าจะมาจากโปรตีนทางเลือก และด้วยการผลักดันจากหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงถึงร้อยละ 22 ในปี 2578
นอกเหนือจากผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์แล้ว การเปลี่ยนไปใช้โปรตีนทางเลือกอื่นยังช่วยให้เกิดความพยายามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภายในปี 2578 การเปลี่ยนไปใช้โปรตีนทางเลือกอื่นจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (carbon dioxideequivalent (CO2-e)) ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะมีผลในการแผ่รังสี (radiative forcing)เท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ได้มากเท่ากับที่ญี่ปุ่นปล่อยออกมาในหนึ่งปี อนุรักษ์น้ำให้เพียงพอสำหรับการใช้ในกรุงลอนดอนเป็นเวลา 40 ปี และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งความมั่นคงด้านอาหาร ผู้บริโภคสามารถรับประทานอาหารอร่อย ๆ ในขณะที่ช่วยปกป้องโลกใบนี้
ครับ ในอนาคตข้างหน้าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่ ที่จะช่วยปกป้องโลกใบนี้
เราคงได้รับประทานโปรตีนทางเลือกได้อย่างอร่อย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bcg.com/publications/2021/the-benefits-of-plant-based-meats