โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
Dr. Jennifer Thomson ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านจุลชีววิทยา ในภาควิชาชีววิทยาโมเลกุลและเซลล์ของ มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) ในประเทศแอฟริกาใต้ ได้เขียนหนังสือเล่มใหม่ซื่อ GM Crops and the Global Divide ซึ่งสำรวจทัศนคติทั่วโลกที่มีต่อพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็ม)และคลี่คลายเหตุผลเบื้องหลังความรู้สึกเชิงลบ
พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM) ได้มีการอนุญาตให้ปลูกในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา และหลังจากนั้น มีมากกว่า 70 ประเทศที่ยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม ไม่ว่าจะอนุญาตให้ปลูกหรือให้นำเข้า และในปี 2562 มีเกษตรกรมากถึง 17 ล้านคน โดยร้อยละ 95 มาจากประเทศกำลังพัฒนา ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมบนพื้นที่ 1,190 ล้านไร่
องค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและการตรวจสอบเอกสารโดยผู้เชียวชาญจำนวนมากสรุปได้ว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับพืชทั่วไปที่เป็นตัวตั้งต้นในการพัฒนา ทั้งสำหรับการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ แม้จะมีความเห็นพ้องเช่นนั้น หลายประเทศรวมทั้งสหภาพยุโรปก็ยังไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้ ความรู้สึกเชิงลบได้เป็นตัวจำกัดในการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ไม่เพียงแต่ในประเทศตะวันตกเท่านั้นแต่เป็นตัวจำกัดในแอฟริกาและเอเชียด้วย ความล่าช้าในการใช้เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อผลผลิตทางการเกษตร และขัดขวางการเพาะปลูกที่อาจช่วยชีวิตพืชได้อย่างกว้างขวาง
หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับทัศนคติของชาวยุโรปที่มีอิทธิพลต่ออาณานิคมในอดีต ความช่วยเหลือ การค้าและการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาที่มีต่อผู้นำชาวแอฟริกันและประชาชน หนังสือ GM Crops and the Global Divide มี 11 บท และรวมถึงคำนำจาก Dr. Richard B. Flavell, FRBS CBU FRS
GM Cropsandthe Global Divide จัดพิมพ์โดย CSIRO Publishing และตอนนี้สามารถซื้อได้ผ่าน CAB International (https://www.publish.csiro.au/book/7929/)
ครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ หาซื้อมาอ่านกันจะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม และการยอมรับหรือต่อต้านพืชดังกล่าวมากขึ้น