ไนจีเรียสามารถประหยัดการนำเข้าสารเคมีถึงปีละ 168 ล้านดอลลาร์จากปลูกข้าวโพดพันธุ์ใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

     ศาสตราจารย์ Rabiu Adamu ผู้ติดตามตรวจสอบโครงการพัฒนาพันธ์ข้าวโพดTELA กล่าวถึงเรื่องที่ไนจีเรียสามารถประหยัดการนำเข้าสารเคมีมูลค่า 168 ล้านดอลลาร์ต่อปีจากการผลิตด้วยข้าวโพดพันธุ์ใหม่  เพื่อให้เป็นที่รับรู้กันทั่วประเทศ ในระหว่างการเยี่ยมชมแปลงวิจัยของ Institute for Agricultural Research (IAR) ภายใต้ Ahmadu Bello University ใน Zaria

      Adamu กล่าวว่า โครงการพัฒนาพันธ์ข้าวโพด TELA มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารเคมีจำนวนมาก เพื่อต่อสู้กับแมลงศัตรูพืชเช่น หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Stem Borer)และ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Army Worm – FAW)

      ในขณะที่สังเกตว่า แมลงศัตรูและความแห้งแล้งเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงด้านอาหารของไนจีเรีย ซึ่ง Adamu อธิบายว่า การเกษตรของไนจีเรียกำลังถูกท้าทายอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อม2 อย่างที่โดดเด่น นั่นคือการขาดแคลนน้ำฝนซึ่งจำเป็นอย่างมากในการปลูกพืชหรือการที่มีฝนตกมากเกินไปจนทำให้น้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก

        Adamu    กล่าวอีกว่า การแนะนำพันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูในไนจีเรียจะช่วยให้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนถูกลงและเสริมว่าการทนแล้งของพันธุ์นี้ไม่เพียงแต่จะให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีเสถียรภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยขยายการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังพื้นที่ชายขอบที่มีฝนตกไม่สูงมากอีกด้วย

        ครับ หลายประเทศเห็นความสำคัญของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ประเทศไทยยังมองไม่เห็น

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thenationonlineng.net/bt-maize-to-save-nigeria-168-million-worth-of-chemical-import-annually/