โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries – MAFF) ได้ทำการสำรวจประจำปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบผลกระทบใด ๆ ที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากคาโนล่าและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมทั้ง 2 ชนิดไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
การสำรวจเริ่มต้นในปี 2549 และดำเนินการต่อเนื่องทุกปีครอบคลุมรัศมีประมาณ 5 กม. จากพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม พืชที่เป็นทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรม และพืชที่ไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรม ได้รับการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด และนำใบพืชมาวิเคราะห์ เพื่อตรวจหายีนที่ทนทานสารกำจัดวัชพืชและยีนที่ต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อมูลล่าสุดจากปี 2563 แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการผสมข้ามระหว่าง ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมกับถั่วเหลืองป่า หรือระหว่างถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะต้านทานต่างกัน สำหรับคาโนล่า
รัฐบาลญี่ปุ่นสังเกตเห็นว่า คาโนล่าดัดแปลงพันธุกรรมมีการแพร่กระจายยีนที่ถ่ายฝาก ไปยังคาโนล่าดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์อื่นที่มียีนที่แตกต่างกัน หรือพันธุ์คาโนล่าที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม ที่มีความใกล้ชิด ในอัตราประมาณร้อยละ 19
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในช่วงปกติของอัตราการผสมข้ามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ MAFF ยังเน้นย้ำว่า ผลการสำรวจที่รวบรวมตั้งแต่ปี 2549 – 2561 ไม่ได้แสดงผลกระทบใด ๆ ที่ยีนถ่ายฝากมีการแพร่กระจายในคาโนล่า
กระทรวงจะดำเนินการศึกษาต่อไป เกี่ยวกับผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการมีอยู่ของลูกผสมข้ามพันธุ์ใด ๆ และติดตามความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมในญี่ปุ่นต่อไป
ครับ เป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันได้ว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมไม่ได้มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายของยีนถ่ายฝาก หรือมีการเคลื่อนย้ายแต่ก็เกิดขึ้นภายในช่วงปกติของอัตราการผสมข้ามตามธรรมชาติ ซึ่งถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.foodnavigator-asia.com/Article/2021/02/15/Japan-GM-food-safety-update-Transgenic-soy-rapeseed-have-no-impact-on-biodiversity-even-after-15-years-government-study