เคนยา คาดผลผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังกระจายพันธุ์ฝ้ายดัดบีที ที่ต้านทานแมลงศัตรูให้เกษตรกร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       กระทรวงเกษตรประเทศเคนยา เริ่มแจกจ่ายเมล็ดฝ้ายบีที (Bacillus Thuringiensis:Bt ) ให้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาภาคส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 80 แต่หลังจากนั้นก็ล่มสลาย และหยุดนิ่งมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ความพยายามที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมาใหม่เกิดขึ้นหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หลังจากการทดลองภาคสนามส่งผลบวก

      Anthony Muriithi รักษาการหัวหน้าผู้บริหารของ Agriculture and Food Authority (Afa) กล่าวว่า การผลักดันครั้งใหม่ของรัฐบาลซึ่งเห็นได้จากการกระจายเมล็ดพันธุ์รวมถึงการปฏิรูปสถาบันต่างๆคาดว่าจะเป็นการริเริ่มสร้างพื้นฐานการผลิตฝ้ายที่เข้มแข็ง และเสริมว่ามีความพยายามที่จะขยายขีดความสามารถผ่านห่วงโซ่คุณค่าโดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออกฝ้าย

     นอกจากนี้ยัง กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ฝ้ายบีทีและฝ้ายธรรมดาได้แจกจ่ายให้กับเกษตรกรแล้ว และมีการคาดการณ์ว่าผลผลิตต่อปีจะเพิ่มขึ้นจาก 20,000 bales (เส้นใยฝ้ายที่ผ่านการหีบถูกอัดแน่นเป็นก้อน) ในปัจจุบันเป็นมากกว่า 200,000 bales ภายในปี 2565

      ฝ้ายบีที ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูและยังให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ทั่วไปถึง3 เท่าและคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูภาคส่วนนี้

      ครับ สถานการณ์ไม่ต่างจากประเทศไทยในเรื่องของการผลิตฝ้ายที่มีความรุ่งเรืองมากในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ ตายสนิท ยกเว้นการปลูกฝ้ายพื้นเมืองที่พอมองเห็นได้ประปราย

      https://www.standardmedia.co.ke/sci-tech/article/2001402024/state-bets-on-bt-cotton-to-boost-production