เกษตรต้องใช้วิทยาศาสตร์ นำแมลงที่กินได้เป็นอาหาร จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนของโลกได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาาิต

       จากการประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศปี 2564 ของสหประชาชาติ (UN’s 2021 Climate Adaptation Summit) ผู้สื่อข่าวจากนิตยสารTIME ได้พูดคุยกับ Agnes Kalibataนักวิทยาศาสตร์การเกษตรและผู้กำหนดนโยบายที่เกิดในประเทศรวันดา (Rwanda) ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (António Guterres) ด้านระบบอาหารสำหรับการประชุมสุดยอดระบบอาหารปี 2564 (2021 Food Systems Summit)

ประเด็นถามตอบที่น่าสนใจ

     ผู้สื่อข่าวจากนิตยสาร TIME ถามว่า หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เราจะทำให้เกษตรกรและระบบอาหารสามารถในการปรับตัวได้อย่างไร

      Agnes Kalibata ตอบว่า แน่นอนเราต้องใช้วิทยาศาสตร์เพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรมีเครื่องมือที่ดีกว่าในการจัดการปัญหา ตัวอย่างเช่น กลุ่มศูนย์วิจัยการเกษตรระหว่างประเทศ (Consortium Group of International Agriculture Research Centers, CGIAR) ได้เพิ่มความพยายามขึ้นเป็น2 เท่าเพื่อให้แน่ใจว่านักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้ง ที่นี่ในเคนยาที่ฉันอาศัยอยู่เกษตรกรกำลังเปลี่ยนจากพันธุ์ที่พวกเขารู้จักมาตลอดซึ่งใช้เวลาหกเดือนกว่าจะโตเต็มที่ไปสู่พันธุ์ที่ใช้เวลาเพียง 2 ถึง 3 เดือน ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ต้องการน้ำน้อยเติบโตเร็วและต้านทานศัตรูพืช

      ผู้สื่อข่าวจากนิตยสาร TIME ถามว่า จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้คนในโลกกินแมลงมากขึ้น

     Agnes Kalibata ตอบว่า แมลงเป็นโปรตีนร้อยละ 60 ของน้ำหนักแห้ง ในความคิดฉันทำไมเราถึงจะไม่รับประทานแมลงละ แต่เราต้องสามารถจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ยอมรับได้กับวัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน การเอาชนะอุปสรรคทางวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อใช้แมลงเป็นอาหารของเรา

      ครับ ความคิดเห็นของฑูตพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ตรงที่การแก้ไขปัญหาทางการเกษตรต้องใช้ วิทยาศาสตร์ และการใช้แหล่งโปรตีนจากแมลงต้องคำนึงถึง วัฒนธรรมและสังคม

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://time.com/5933750/agnes-kalibata-future-of-farming/