เศรษฐกิจหมุนเวียน : รีไซเคิลขยะเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้การผลิตอาหาร-พลังงานมีความยั่งยืนมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     เราต้องหาวิธีลดขยะและคำตอบอาจกำลังเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ซึ่งเป็นความพยายามในการออกแบบวิธีลดขยะโดยการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้และการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ “เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการจัดการกับวิกฤตครั้งใหญ่หลายอย่างที่เรากำลังเผชิญอยู่” Anne Velenturfนักวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากUniversity of Leedsกล่าวว่า “การผลิตสิ่งของต้องใช้พลังงานมากและถ้าเราใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของเราอย่างดี เราก็จะช่วยประหยัดคาร์บอนได้มากเช่นกัน”

     อินซูลิน (ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน) ครึ่งหนึ่งของโลกมาจากโรงงานแห่งนี้ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศKalundborgประเทศเดนมาร์กและการผลิตนั้นอาศัยถังหมักขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยอาหารเลี้ยงยีสต์ (yeast broth)Novo Nordisk ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต ได้ส่งอาหารเลี้ยงยีสต์ที่ใช้แล้วไปยัง KalundborgBioenergiซึ่งเป็นโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ Erik Lundsgaard CEO ของ KalundborgBioenergiกล่าวว่า “ของเหลือใด ๆ (จากการผลิตก๊าซชีวภาพ) ก็สามารถนำไปใส่ลงในทุ่งนาเพื่อใช้เป็นปุ๋ยได้”

     AeroFarms เป็นสถานที่ปลูกผักคะน้าและผักกาดหอมเป็นชั้น ๆ ในโกดังโรงถลุงเหล็กเก่าในเมืองNewark รัฐ New Jerseyโดยปลูกเมล็ดพืชลงในผ้าที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลและพ่นน้ำในรูปของหมอกให้กับต้นกล้าจากด้านล่างขึ้นไปช่วยทำให้ประหยัดน้ำได้ร้อยละ95 และใช้ไฟ LED ที่มีความแม่นยำนั่นคือใช้เฉพาะคลื่นแสง (spectra)ที่เกี่ยวข้องกับพืชเพื่อหลีกเลี่ยงการสิ้นเปลืองพลังงาน

     นั่นเป็นรูปแบบการผลิตแบบเกษตรอัจฉริยะ แต่เรายังเก็บขยะได้ถึง1 ใน 3 ของอาหารที่เราผลิตได้ซึ่งตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ จะอยู่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านตันต่อปีVelenturfกล่าวว่า “การลดการผลิตและการบริโภคสามารถจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้”

     ครับ เป็นข้อมูลและแนวคิดในการนำขยะที่เหลือมาใช้ประโยชน์ ซึ่งคงต้องสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภค

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wired.co.uk/article/end-of-waste-circular-economy