132 สถาบันวิจัย-สมาคมสนับสนุนให้สหภาพยุโรปพิจารณาทบทวนจุดยืนการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

      เมื่อไม่นานมานี้เกษตรยั่งยืนในยุโรปผ่านเครือข่ายการแก้ไขจีโนม หรือ European Sustainable Agriculture through Genome EditingNetwork (EU-SAGE) และสมาชิกจาก 132 สถาบันการวิจัยและสมาคมต่าง ๆ ในยุโรป เรียกร้องให้คณะมนตรียุโรป รัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป พิจารณาทบทวนจุดยืนการแก้ไขจีโนม ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)ในแถลงการณ์ของเครือข่าย EU-SAGE กล่าวว่า การพัฒนาพันธุ์พืชใหม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ปลอดภัย ง่ายและรวดเร็ว และเครื่องมือล่าสุด คือ การปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ หรือ การแก้ไขจีโนม

     อย่างไรก็ดี การใช้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำนี้ ได้ถูกระงับในยุโรปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 เนื่องจากการพิจารณาของศาลยุติธรรมแห่งยุโรปได้กำหนดให้พืชทั้งหมดที่พัฒนาด้วยเทคนิคนี้ อยู่ภายใต้ข้อห้ามอย่างเข้มงวดของกฎระเบียบว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม แม้ว่าจะไม่มี DNA ของสิ่งมีชีวิตอื่นถ่ายฝากเข้าไปในพืช

คำแถลงการณ์ มีข้อเสนอต่อคณะมนตรียุโรป รัฐสภายุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป ดังนี้

  • ขอให้ทบทวน คำสั่งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม(GMO Directive) ที่มีอยู่ เพื่อนำมาสู่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันและหลักฐานเกี่ยวกับการแก้ไขจีโนม
  • การแก้ไขจีโนม ช่วยแก้ปัญหาในการคัดเลือกพืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการใช้ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงน้อยลง และช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สมาชิกเสนอให้คณะกรรมาธิการยุโรปรับรองข้อความในแถลงการณ์ของพวกเขา เพื่อประโยชน์และสวัสดิการของพลเมืองสหภาพยุโรปทั้งหมด
  • มีความจำเป็นเร่งด่วนในการทำกรอบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกันทั่วโลก
  • การอธิบายการผลิตอาหารในยุโรป ควรรวมถึง ความสำคัญของวิธีการที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น

      ครับ เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับการแก้ไขยีนของสหภาพยุโรป ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eu-sage.eu/sites/default/files/2020-07/Open%20Statement%20EU-SAGE%20July%202020_EN.pdf