เกษตรกรชาวยูกันดาฮือ…จะปลูกมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมถ้ารัฐบาลไม่อนุญาต

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

      มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดในแอฟริกา ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเศรษฐกิจในชนบท ถือเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับทดแทนข้าวสาลี เนื่องจากใช้สารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย แต่ผลผลิตที่ได้ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น เนื่องจากคุณภาพดินไม่ดี ปุ๋ยมีคุณภาพต่ำและมีปัญหาในการจัดการวัชพืช ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นพร้อมกับโรคที่เกิดจากไวรัสที่ร้ายแรง ที่ระบาดมาอย่างยาวนาน

     แต่การแก้ปัญหาโรคด้วยเทคโนโลยีชีวภาพกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า และเกษตรกรบอกว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งโดยพวกเขาจะพิจารณาปลูกมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมอย่างผิดกฎหมาย หากประเทศของพวกเขาหยุดการอนุมัติพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านการทดสอบแล้ว

       การปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมในแอฟริกาตะวันออกมีหลายประเทศรวมถึงยูกันดา เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก รวันดา บุรุนดีและมาลาวี มีประชากรรวมกันประมาณ 150 ล้านคนใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารหลัก ซึ่งมีส่วนช่วยมากกว่าพืชผลอื่น ๆ เพื่อความมั่งคั่งของครัวเรือน โดยร้อยละ 63 ของครอบครัวขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อสร้างรายได้เฉลี่ยสูงถึง $ 90 ต่อปี ในภูมิภาคที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ที่ $ 1 ต่อวัน

        แต่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังหลายล้านคนเหล่านี้ ต้องต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคใบด่างมันสำปะหลัง(cassava mosaic virus – CMV) เพื่อดำรงชีวิตอยู่ รวมทั้งโรคแผลขีดสีน้ำตาลของมันสำปะหลัง(cassava brown streak virus – CBSV) ซึ่งทำลายไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรเป็นระยะ

      โรค CBSVก่อให้เกิดการเน่าเปื่อยของหัวมันสำปะหลังได้รับการรายงานครั้งแรกในแทนซาเนียในปี 2479 และจากนั้นก็แพร่กระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกรยังต้องพยายามควบคุมโรคCMV ซึ่งเป็นสาเหตุให้ใบมันสำปะหลังเหลืองและย่นจึงจำกัดการเจริญเติบโตของหัว

     ในที่สุดหลังจากหลายปีของการพัฒนา นักวิจัยในเคนยาและยูกันดาได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมมันสำปะหลังให้ต้านทานต่อโรคดังกล่าวและใกล้จะวางจำหน่ายแล้ว นี่คือความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ที่สามารถให้ประโยชน์ต่อผู้คนนับล้าน สิ่งที่ไม่แน่นอน คือ การเมือง ฝ่ายค้านที่ถูกกระตุ้นโดยนักเคลื่อนไหวต่อต้านพิชดัดแปลงพันธุกรรมชาวยุโรป ผู้ซึ่งได้แทรกซึมเข้าไปในกลุ่มประชากรในแอฟริกา กำลังวิ่งเต้นอย่างหนักเพื่อระงับการวิจัยและการขายพันธุ์

เคนยาเป็นผู้นำ

      ความพยายามในการพัฒนาการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเริ่มต้นขึ้นในปี 2549 ผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคที่รู้จักกันในชื่อโครงการ Virus Resistant Cassava for Africa (VIRCA) Plus โครงการวิจัย VIRCA เป็นความร่วมมือที่จัดตั้งขึ้นโดย Donald Danforth Plant Science Center ในสหรัฐอเมริกาNational Crops Resources Research Institute (NaCRRI) ในยูกันดาและ Kenya Agricultural and Livestock Research Organization (KALRO)

       นักวิทยาศาสตร์ในโครงการได้มาถึงความสำเร็จครั้งแรก โดยการดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูก คือ TME204 ให้ต้านทานต่อ CBSV มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์นี้ ได้ถูกนำไปผสมข้ามกับพันธุ์ปลูกปกติที่ต้านทานต่อ CMV แล้วทำการทดสอบภาคสนามมากกว่า 5 ปีแสดงให้เห็นว่าพันธุ์ใหม่มีความต้านทาน 100% ต่อโรคทั้งสองและ VIRCA กระตือรือร้นที่จะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในอนาคตอันใกล้นี้

      ขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบให้กับเกษตรกร เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2563 เมื่อนักวิจัยขอให้รัฐบาลเคนยาอนุมัติมันสำปะหลังสายพันธุ์ 4046 ที่ต้านทานโรค Cassava Brown Streak Disease” Margaret Karembuผู้อำนวยการ ISAAAAfricaเขียนในอีเมล

      Karembu อธิบายว่าเอกสารเพื่อขออนุญาตจาก KALRO มีข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของลักษณะการต้านทานโรค ซึ่ง National Biosafety Authority (NBA) ในไนโรบี ได้รับเรื่องไว้แล้ว และ กำลังดำเนินการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ โดยมีข้อมูลจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญอิสระ เพื่อตรวจสอบว่ามันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม

      บุคคลทั่วไปรวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเคนยา สามารถให้ความคิดเห็นได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ NBA หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพกล่าวว่ากระบวนการตรวจสอบอาจใช้เวลานานถึง 150 วันแม้ว่าจากตารางเวลาการทำงานดังกล่าวจะไม่มีความล่าช้าก็ตาม แต่การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส อาจเพิ่มความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้การอนุมัติช้าลง

เกษตรกรชาวยูกันดาหลายคน ต่างยืนยันว่า  พวกเขาจะปลูกมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมอย่างผิดกฎหมาย

     ในขณะที่เคนยายังอยู่ในเส้นทางของการขออนุญาตมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้านยังคงไม่สามารถเข้าถึงมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมได้ KenyangiApiyo [นามแฝง] เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังรุ่นใหม่ในเขต West Nile ของยูกันดา เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมงานของเธอ เธอกระตือรือร้นที่จะปลูกสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรค แม้ว่าเธอจะต้องทำผิดกฎหมายก็ตาม

     ผู้ออกกฎหมายของยูกันดามักอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักเคลื่อนไหวต่อต้านเทคโนโลยีชีวภาพยังไม่กระตือรือร้นที่จะอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมในปัจจุบันแม้จะพัฒนาในประเทศ ยูกันดาในท้ายที่สุดอาจออกกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพที่ถกเถียงกันมานานซึ่งอนุญาตให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้า แต่ถ้าประเทศใกล้เคียงอนุญาตพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าว เกษตรกรชาวยูกันดาหลายคนเช่นKenyangiกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ลังเลที่จะปลูกอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งสำหรับKenyangiการข้ามไปยังเคนยาเพื่อรับท่อนพันธุ์จากเกษตรกรในท้องถิ่นเป็นตัวเลือกที่ชัดเจน:

   ” I have attended sensitization meetings organized by scientists from the National Crop Resources Research Institute. I have seen the GM cassava varieties under field trial, and the tubers are clean from CBSV and they are high yielding. I have been following the conversation of its release on social media, and I am eagerly waiting [the chance] to grab seedlings from Kenyan farmers. There is no challenge to crossing over the Kenyan border to acquire the GMO cassava seedling. Farmers in Uganda and Kenya are used to exchanging seed of any type of crop as long as it is disease free and high yielding.”

    ฉัน (ผู้เขียน) ได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยทรัพยากรพืชแห่งชาติ (National Crop Resources Research Institute) และได้เคยเห็นมันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมในการทดลองภาคสนาม ซึ่งพบว่าหัวมันสะอาดปลอดCBSV และให้ผลผลิตสูง ฉันติดตามการปลดปล่อยบนโซเชียลมีเดียและฉันรอโอกาสที่จะได้รับท่อนพันธุ์จากเกษตรกรชาวเคนยา ไม่มีปัญหาที่จะข้ามพรมแดนเคนยาเพื่อรับท่อนพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรม เกษตรกรในยูกันดาและเคนยาได้ใช้วิธีนี้ในการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดตราบใดที่ปราศจากโรคและให้ผลผลิตสูง

     Dembe Okello [นามสมมุติ] เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอีกรายในภาคตะวันออกของยูกันดามีมุมมองที่คล้ายกัน เขาใช้อาศัยอยู่ในระยะที่สามารถเดินได้จากชายแดนเคนยาดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะได้รับพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่เขารู้ว่าจะสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น

     เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตชายแดนของประเทศเหล่านี้ไม่มีปัญหาในการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเขาได้ทำสิ่งนี้ตลอดเวลา ฉันรู้ว่าพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรมมีความต้านทานต่อ CBSV ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเกษตรกรจำนวนมากที่ปลูกมันสำปะหลัง โดยปกติเมื่อฉันปลูกมันสำปะหลังที่ต้านทานฉันสามารถเก็บเกี่ยวสองตันต่อเฮกตาร์ แต่เมื่อโรคทำให้เกิดการเน่าเปื่อยฉันแทบจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวอะไรจากฟาร์ม

     ในขณะที่เกษตรกรยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมาย ก็หวังว่าความคืบหน้าในเคนยาจะดึงดูดความสนใจของผู้ออกกฎหมายยูกันดาซึ่งยังคงสงสัยต่อเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาชีวิตของคนนับล้านภายในประเทศยูกันดา

(ครับ สรุปได้ว่า การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังให้ต้านทานต่อโรค CMV และ CBSV สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการยื่นขออนุญาตเพื่อปลูกเป็นการค้าในประเทศเคนยา แต่ด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้เกษตรกรชาวเคนยาและประเทศใกล้เคียงจะปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดังกล่าวแม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม)

   LomindaAfedraru เป็นนักข่าววิทยาศาสตร์อิสระในยูกันดาที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตรสุขภาพสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ติดตามเธอได้ใน Daily Monitor, Facebook หรือ Twitter @ lominda25

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2020/06/30/facing-disease-crisis-ugandan-farmers-say-theyll-illegally-grow-gmo-cassava-to-feed-their-families-increase-yields/?mc_cid=643c3cd43c&mc_eid=43212d8a02