โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และ Molecular Foundry ซึ่งเป็นศูนย์ปฎิบัติการด้านนาโนศาสตร์ (Nanoscience) อยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอเรนซ์เบิร์กลีย์ (Lawrence Berkeley National Laboratory – Berkeley Lab) ของภาควิชาพลังงาน (Department of Energy) กำลังทำงานเพื่อพัฒนายีนที่ต่อต้านไวรัส COVID-19
ปีที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Stanley Qi began จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เริ่มทำงานเกี่ยวกับเทคนิคที่เรียกว่า PAC-MAN – หรือ Prophylactic Antiviral CRISPR ในเซลล์มนุษย์ – ซึ่งใช้เครื่องมือแก้ไขยีน CRISPR เพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีข่าวการระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้น Qi และทีมของเขาคิดว่าจะลองใช้เทคโนโลยี PAC-MAN เพื่อต่อสู้กับโรคนี้
PAC-MAN ประกอบด้วยเอนไซม์ – ในกรณีนี้ คือเอนไซม์ Cas13 ที่ฆ่าไวรัส และสาย RNA นำทาง (a strand of guide RNA) ซึ่งสั่งให้ Cas13 ทำลายลำดับนิวคลีโอไทด์ที่เฉพาะเจาะจงในจีโนมของ coronavirus ด้วยการตรวจจับรหัสพันธุกรรมของไวรัส ทำให้ PAC-MAN สามารถต่อต้าน coronavirus และหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนภายในเซลล์
อย่างไรก็ตาม Qi กล่าวว่า ความท้าทายที่สำคัญในการถอดระหัส PAC-MAN จากเครื่องมือโมเลกุลให้เป็นการบำบัดเพื่อต่อต้าน COVID-19 คือ การหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการนำส่งไปยังเซลล์ปอด
นักวิจัยที่ Molecular Foundry นำโดย Michael Connolly กำลังทำงานเกี่ยวกับโมเลกุลสังเคราะห์ที่เรียกว่า lipitoids ซึ่งเป็น peptide (สายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่มาเชื่อมต่อกัน) สังเคราะห์ ที่รู้จักกันในชื่อ peptoid ที่มีประสิทธิภาพในการส่ง DNA และ RNA ไปยังเซลล์ที่หลากหลาย Lipitoids ไม่เป็นพิษต่อร่างกายและสามารถส่งนิวคลีโอไทด์ (โครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก) โดยห่อหุ้มนิวคลีโอไทด์ให้มีขนาดเล็กของอนุภาคนาโนของไวรัส Lipitoid 1 ได้ถูกทดสอบโดยทีมวิจัยจาก Stanford เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งทำได้ดีมาก เมื่อบรรจุด้วย PAC-MAN ที่กำหนดเป้าหมายที่ coronavirus ระบบจะลดปริมาณของ SARS-CoV-2 สังเคราะห์ในสารละลายมากกว่าร้อยละ 90 ทีมวิจัยวางแผนที่จะทดสอบระบบนี้กับไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต
ครับ เป็นความก้าวหน้าทางวิชาการในการที่จะป้องกันการทำลายปอดของมนุษย์จากเชื้อ COVID 19 โดยใช้วิธีที่เรียกว่า PAC-MAN ซึ่งจะฆ่าเชื้อและลดการเพิ่มจำนวนเชื้อในปอด ขอให้สำเร็จโดยเร็วครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://newscenter.lbl.gov/2020/06/04/gene-targeting-covid-19/