พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับพืชปกติสามารถอยู่ร่วมกันได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    โลกมีประชากรเกือบ 7.8 พันล้านคนในปี 2563 และ ภายในปี 2593 ประชากรโลกคาดว่าจะสูงถึง 9.8 พันล้านคน ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ประกอบกับทรัพยากรที่ลดลง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะนำระบบการผลิตต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร ดังนั้นการอยู่ร่วมกัน (coexistence) ของระบบการผลิตที่แตกต่างกัน จึงเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสำหรับบางประเทศ

       กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้กำหนดให้มีการอยู่ร่วมกันของการปลูกพืชแบบปกติ แบบอินทรีย์ แบบรักษาเอกลักษณ์ (identity preserved) และพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือพืชเทคโนชีวภาพในพื้นที่ติดกัน ตามความต้องการของผู้บริโภคและการเลือกปลูกของเกษตรกร

       พืชที่ปลูกแบบปกตินั้นผลิตจากพืชที่ไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรม และไม่เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ พืชอินทรีย์มีการปลูกตามกฎระเบียบอินทรีย์แห่งชาติ พืชที่ปลูกแบบรักษาเอกลักษณ์ จะมีการประกันคุณภาพที่เหมือนกันกับพ่อแม่พันธุ์ พืชดัดแปลงพันธุกรรมผลิตขึ้นโดยใช้เมล็ดที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ดังนั้นการอยู่ร่วมกันทำให้เกษตรกรมีอิสระในการเลือกระบบการผลิตที่ดีที่สุดและได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวเลือกเหล่านี้

       พืชดัดแปลงพันธุกรรมมีการปลูกมาตั้งแต่ปี 2539 และในปี 2561 มีพื้นที่ปลูกทั่วโลก 1,198 ล้านไร่ ใน 26 ประเทศ การเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างต่อเนื่องในประเทศเหล่านี้ พร้อมกับพืชที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม ยืนยันให้เห็นว่าสามารถปลูกอยู่ร่วมกันได้

      ครับ เกษตรกรควรจะมีทางเลือกในการผลิตพืช ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวเลือกนั้นๆครับ!

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/resources/publications/pocketk/51/default.asp