ทั่วโลกยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีหลายลักษณะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     วิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่รวมยีนที่ควบคุมในแต่ละลักษณะ(gene stacking) ไว้ในต้นเดียวกัน ทำให้มีพันธุ์พืชที่โดดเด่นมากมายเช่นข้าวสีทอง (Golden Rice)กุหลาบที่มีดอกสีชมพู (Blue Rose) และ SmartStax ™ (เครื่องหมายการค้า เมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะต้านทานแมลงศัตรูและทนทานสารกำจัดวัชพืช) การรวมยีนที่ควบคุมในแต่ละลักษณะ ไว้ในต้นเดียวกันคืออะไรและเหตุใดจึงมีความต้องการสูงในตลาดเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม รวมทั้งอนาคตของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่รวมยีนที่ควบคุมในแต่ละลักษณะ (gene stacking) ไว้ในต้นเดียวกัน จะเป็นอย่างไร

     การรวมยีนไว้ด้วยกัน (gene stacking) หมายถึงกระบวนการรวมยีนที่น่าสนใจตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไปในต้นพืชการรวบยอดยีน (gene pyramid) ที่ดีไว้ด้วยกัน และการถ่ายทอดกลุ่มของยีน (multigene transfer) ก็เป็นชื่อที่ใช้กันในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างถึงกระบวนการเดียวกัน ลักษณะรวมที่เกิดจากกระบวนการนี้เรียกว่า stacked traits พันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะรวมดังกล่าว เรียกว่า biotech stack

      มีการประเมินว่า จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 503 ล้านไร่ ในปี 2561 ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะรวม หรือประมาณร้อยละ 42 ของพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลก 1,198 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่าพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายร้อยละ 89 และพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดร้อยละ 80 นั้นปลูกด้วยเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะรวม ในปี 2562

    ครับ เป็นเรื่องของการพัฒนาเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดีหลายลักษณะรวมอยู่ในต้นเดียวกัน และพบว่า มีความนิยมในการปลูกพืชชนิดนี้มากขึ้น

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/resources/publications/pocketk/42/default.asp