โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ผู้นำรัฐบาลท้องถิ่นกว่า 30 คนจาก 9 อำเภอในเขตภาคกลางของยูกันดา ได้ร้องขอให้มีการอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาโดยองค์กรวิจัยการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Research Organization – NARO) ในขณะที่ประเทศกำลังรอการผ่านกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ
เจ้าหน้าที่จำนวนมาก ที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (Chief Administrative Officers -CAOs) ประธานอำเภอ เจ้าหน้าที่การเกษตรและการผลิตและผู้ว่าการอำเภอ (Resident District Commissioners – RDCs) –ที่อยู่ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่สถาบันวิจัยทรัพยากรพืชแห่งชาติ (National Crops Resources Research Institute – NaCRRI) และได้เข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัยทรัพยากรปศุสัตว์แห่งชาติ (National Livestock Resources Research Institute)ซึ่งกำลังทำงานเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันเห็บดัดแปลงพันธุกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ชีวภาพยูกันดา (Uganda Biosciences Information Center – UBIC) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563
Badru Sentongo Waliggo ซึ่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของอำเภอ Nakaseke มีความสงสัยว่าทำไม NARO จึงยังไม่อนุญาตผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมพวกเขา เขากล่าวถึงความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานว่า “เกษตรกรในเขตของฉันรู้สึกเศร้าใจจากการสูญเสียที่เกิดจากโรคมันเส้นสีน้ำตาล (cassava brown-streak disease – CBSD) ซึ่งมันสำปะหลัง ที่ต้านทานโรคนี้ก็มีอยู่ แต่ทำไมจึงไม่อนุญาตพันธุ์ต้านทานเหล่านี้ในขณะที่รอกฎหมาย”
ยูกันดาก็เป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่ดำเนินการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร แต่ไม่สามารถปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ได้หากไม่มีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพระดับประเทศ มันสำปะหลังที่ต้านทาน CBSD กล้วยที่ทนต่อโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียและมันฝรั่งที่ต้านทานต่อโรคใบไหม้เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่นักวิทยาศาสตร์ของ NARO พัฒนาขึ้น
ในการกล่าวปิดงานของเขา Mathias Kigongo ประธานอำเภอ Buikwe ได้รวบรวมเพื่อนร่วมงานของเขาให้ทำงานร่วมกับ NARO เพื่อให้มั่นใจว่า มีข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อการอนุญาตให้มีการขาย GMOs ในเชิงพาณิชย์
ครับ สถานการณ์เหมือนบ้านเรา คือรอให้มีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพก่อน การอนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม แต่น่าจะดีกว่าบ้านเราเพราะ เราไม่มีร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพแล้ว แต่กลับมีกฎหมายความหลากหลายทางชีวภาพ ท่านคิดว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่?
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.isaaa.org/kc/cropbiotechupdate/article/default.asp?ID=18001