เห็นชัดๆ เกษตรกรในโคลอมเบียได้รับประโยชน์ที่จากปลูกฝ้ายและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       การศึกษาที่ทำโดย Graham Brookes จาก PG Economics Ltd. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร GM Crops and Food พบว่า ตั้งแต่ปี 2546 พืชพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้ช่วยเกษตรกรในประเทศโคลอมเบียผลิตอาหาร อาหารสัตว์ และเส้นใยได้มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรน้อยลงและรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น มากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ

      พืชดัดแปลงพันธุกรรมช่วยให้เกษตรกรในประเทศโคลอมเบีย ได้รับผลผลิตที่สูงขึ้นจากการควบคุมศัตรูพืช และวัชพืชที่ทำดีขึ้น ลดการปล่อยมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฝ้ายและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

     การศึกษานี้พบว่าตั้งแต่ปี 2546 มีการปลูกข้าวโพดและฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมประมาณ 1 ล้านเฮกแตร์ ในประเทศโคลอมเบียและในปี 2561 พืชดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูกคิดเป็นร้อยละ 90 และ 36 ของพื้นที่ปลูกฝ้ายและข้าวโพดทั้งหมดตามลำดับ

       การผลิตที่เพิ่มขึ้นและการลดค่าใช้จ่ายของการควบคุมศัตรูพืชและวัชพืช ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด มีรายได้ที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 294 ดอลลาร์สหรัฐ / เฮกแตร์ สำหรับทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐที่จ่ายเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเที่ยบกับค่าเมล็ดพันธุ์ที่ต้องจ่ายปกติ

      สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 358 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 3.09 สำหรับทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐที่จ่ายเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเที่ยบกับค่าเมล็ดพันธุ์ที่ต้องจ่ายปกติ

       การศึกษายังพบว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงส่งผลให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่ปลูกฝ้ายและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรที่ดินที่หายาก

        ครับ ไม่ทราบว่าผู้ที่ติดตามอ่านในเรื่องนี้ มีความคิดเห็นเช่นไรสำหรับประเทศไทย

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645698.2020.1715156