โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
สภาพอากาศที่เปลี่ยน
ความพยายามในการปรับปรุงพันธุกรรมของพืชอาหาร เป็นความพยายามที่มีมาตั้งแต่เริ่มทำการเพาะปลูก แต่เทคนิคชีววิทยาสังเคราะห์(synthetic biology techniques) ที่รวมถึง CRISPR-Cas9 และระบบการแก้ไขยีนอื่น ๆ ได้เร่งกระบวนการและทำให้วิธีการใหม่ดังกล่าวมีความเป็นไปได้
ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้คุกคามระบบการปลูกพืชอาหารของโลก โดยเฉพาะภาวะแห้งแล้ง นักวิทยาศาสตร์ด้านพืชอุตสาหกรรมและรัฐบาลหวังว่า จะใช้วิธีการที่ทรงพลังเหล่านี้ เพื่อทำให้พืชมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้นี่คือเป้าหมายที่ต้องการ
พันธุ์ข้าวโพดต้นเตี้ย – บริษัท Bayer Crop Science กำลังพัฒนาและทดสอบภาคสนามพันธุ์ข้าวโพดปกติและพันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความสูง 1 เมตร หรือน้อยกว่าข้าวโพดพันธุ์ใด ๆ ที่เกษตรกรได้เคยปลูกก่อนหน้านี้
จากข้อมูลของ Bob Reiter หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัท ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกด้วยประชากรที่มากขึ้น ดังนั้นจึงผลิตอาหารได้มากขึ้นต่อหน่วยพื้นที่ปลูก และป้องกันไม่ให้เกิดการหักล้มเนื่องจากลม
การเพิ่มปริมาณรากข้าวโพด – นักวิจัยหลายกลุ่มกำลังทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชโดยการปรับปรุงและเพิ่มการสร้างราก นักวิจัยที่Salk Institute for Biological Studiesกำลังคิดต่อไปอีกขั้นหนึ่งโดยการทำให้พืชมีรากที่ไม่เพียงแต่มีจำนวนมากขึ้น แต่ยังทนต่อการย่อยสลายตัวซึ่งอาจทำให้สามารถเก็บคาร์บอนใต้ดินได้มากขึ้น
ครับ อีกไม่นานคงเห็นข้าวโพดต้นเตี้ย ที่ให้ผลผลิตสูง รากเยอะ ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cen.acs.org/food/agriculture/ll-reengineer-crops-changing-climate/98/i6