อาร์เจนตินากำลังทดสอบภาคสนามสายพันธุ์มันฝรั่งที่ได้จากการแก้ไขยีน (ไม่ใช่จีเอ็มโอ)

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ในนิตยสาร Frontiers in Plant Science  นักวิทยาศาสตร์จากอาร์เจนตินาและสวีเดนรายงานว่า พวกเขาได้แก้ไขยีนโพลีฟีนอล ออกซิเดส (polyphenol oxidase gene) ในมันฝรั่ง (Solanum tubersoum L. ) หลังจากประสบความสำเร็จในการแก้ไขยีน สิ่งที่ได้คือ
หัวมันฝรั่งที่ไม่มีสีน้ำตาลที่เกิดจากเอนไซม์ (enzymatic browning)

      ในมันฝรั่ง เอนไซม์โพลีฟีนอล ออกซิไดซ์จะถูกควบคุมโดยกลุ่มยีนที่มีรูปแบบการแสดงออกที่แตกต่างกันในพืช ดังที่ระบุไว้ในรายงานที่ว่า สิ่งที่ได้รับนี้แสดงให้เห็นว่า เทคนิค CRISPR / Cas9 สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์มันฝรั่งที่ปลอดจากการถ่ายฝากยีน (ไม่ใช่จีเอ็มโอ) เพื่อการลดการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลที่เกิดจากเอนไซม์ในหัวมันฝรั่ง

      โดยทำการแก้ไขยีนเพียงตัวเดียวในกลุ่มยีนดังกล่าวด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Biotechnology Advisory Commission – Conabia) ที่อนุญาตให้มีการทดสอบภาคสนาม เพื่อจะสร้างข้อมูลสำหรับการจดทะเบียนพันธุ์กับ Argentina’s Instituto Nacional De Semillas หรือ INASE ในระหว่างการทดสอบภาคสนาม นักวิจัยจะสังเกตสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกในบริบทของการผลิตตามปกติ และ วิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาอื่น ๆ ของพืช

     ครับ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ลักษณะที่แสดงออกภายนอกนั้นถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมหรือดีเอ็นเอ การแก้ไขดีเอ็นเอ
หรือการแก้ไขยีน ก็จะช่วยให้การแสดงออกนั้นเป็นไปตามที่เราต้องการ ทำไมคนบางกลุ่มจึงต่อต้าน โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://intainforma.inta.gob.ar/el-inta-siembra-las-primeras-papas-que-no-se-oxidan/