พืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความจำเป็นต่อความมั่นคงทางอาหารหรือไม่?

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       หนึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดของการอภิปรายเรื่องจีเอ็มโอ หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือเทคโนโลยีชีวภาพนี้มีความจำเป็นต่อการบริโภคของประชากรโลกที่กำลังเติบโตหรือไม่ ที่คาดว่าจะใกล้กับ 10 พันล้านคนภายในปี 2593 และในช่วงเวลาเดียวกันความต้องการอาหารของประชากรโลก ก็คาดว่าจะทะยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 หรือมากกว่า ดังนั้นเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารนี้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า การผลิตทางการเกษตรจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทศวรรษหน้า ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร

       นักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรและองค์กรด้านมนุษยธรรมจำนวนมาก เช่น มูลนิธิเกตส์และองค์การสหประชาชาติให้เหตุผลว่า จีเอ็มโอ(GMOs) และการแก้ไขยีน เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต ต่อสู้กับศัตรูพืชและปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่นักวิจารณ์ล้อเลียนมุมมองนี้โดย กล่าวว่า จีเอ็มโอไม่จำเป็นต่อการให้อาหารแก่โลก และเทคโนโลยีชีวภาพไม่สามารถทำได้จริง นักวิจารณ์ท้าฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมจะเพิ่มผลผลิต

      นอกจากนี้ยัง กล่าวอีกว่า GMOs จะคุกคามอำนาจอธิปไตยของประเทศกำลังพัฒนา และวิกฤติการขาดแคลนอาหารเป็นเพียงตำนานที่ได้รับการส่งเสริมโดย “บริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่” เพื่อเพิ่มผลกำไรภายใต้หน้ากากของการทำงานด้านมนุษยธรรมที่มีเกียรติ แต่การทำการเกษตรอินทรีย์และเกษตรที่ตอบสนองต่อนิเวศวิทยาเกษตร รวมทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อปรับปรุงการกระจายอาหารสามารถบรรเทาความหิวโหยของโลกและความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ

       ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรส่วนใหญ่ กล่าวว่า การโต้แย้งนี้ทำให้เกิดความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง ความหิวโหยของโลกเป็นปัญหาที่ซับซ้อน เครื่องมือหลายอย่างและรวมถึงการทำการเกษตรขนาดเล็กในบางสถานการณ์ การทำการเกษตรแบบเข้มข้นความได้เปรียบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของพืชดัดแปลงพันธุกรรมควรเข้าถึงได้โดยเกษตรกร

         ครับ และทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ มีความคิดเห็นอย่างไรครับ?

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/gmo-faq/are-gmos-necessary-to-feed-the-world/?mc_cid=5f2ed421f4&mc_eid=43212d8a02