โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การปลูกพืชที่มีอายุข้ามปี (perennial crops) ในระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลาย เมื่อเทียบกับระบการปลูกข้าวโพดตามด้วยถั่วเหลืองไม่ได้เพิ่มความสามารถของดินในการกักเก็บคาร์บอน นี่เป็นผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่ท้าทายความคาดหวังที่ว่าระบบการปลูกพืชที่หลากหลาย (diverse cropping systems)จะมีผลต่อการกักเก็บคาร์บอน
การศึกษานี้ เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดเก็บคาร์บอนของระบบการปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างข้าวโพด ตามด้วยถั่วเหลืองแบบปกติกับระบบการปลูกพืชที่ประกอบด้วยพืชที่มีอายุข้ามปี และธัญพืชขนาดเล็กเช่นข้าวโอ๊ต ซึ่งการปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลาย (Diversified crop rotations)จะช่วยปกป้องคุณภาพน้ำและมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
Michael Castellano ศาสตราจารย์ด้านพืชไร่และผู้เขียนร่วมของการศึกษานี้ กล่าวว่า ผลจากการทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการกักเก็บคาร์บอนไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์เหล่านั้นที่เกิดจากการปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลาย
คาร์บอนในบรรยากาศทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจก แต่การกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินทำให้คาร์บอนไม่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ดังนั้นนักวิจัยกำลังศึกษาหาวิธีการผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนไว้ในดิน
Castellano กล่าวว่า การค้นพบนี้ ได้ผลตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานที่วางไว้ว่า รากพืชที่มีมากขึ้นในดิน เป็นระยะเวลานานจะเพิ่มปริมาณคาร์บอนของดิน
การทดลองของ Iowa State University นี้ ทำที่สถานีวิจัย 3 แห่งในรัฐไอโอวา ซึ่งมีการปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลายควบคู่ไปกับระบบการปลูกข้าวโพดตามด้วยถั่วเหลืองเป็นเวลาหลายปี นักวิจัยได้เปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนในดินจากระบบการปลูกข้าวโพด ตามด้วยถั่วเหลืองกับระบบที่มีการปลูกพืชที่หลากหลาย และไม่พบความแตกต่างที่สอดคล้องกัน
ครับ ผลการศึกษาใช่ว่าจะต้องเป็นไปตามที่คาดหวังทุกครั้ง คงจะต้องหาคำตอบให้ชัดเจนว่าทำไมจึงไม่เป็นไปตามที่คาด นี่คือสิ่งที่เรียกว่า อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://phys.org/news/2020-01-diverse-cropping-dont-carbon-storage.html