คณะผู้เชียวชาญ สนับสนุนเทคโนโลยี CRISPR เพื่อการเกษตรยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

        ในระหว่างการประชุมครั้งที่ 8 ของคณะกรรมการปกครอง (Governing Body) สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (ITPGRFA) ในกรุงโรมอิตาลี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยี CRISPR และศักยภาพในการเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร คณะผู้เชี่ยวชาญ(expert’s panel) ได้บอกองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติว่าเทคโนโลยี CRISPR มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับความไม่มั่นคงทางอาหารของโลก

        คณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. BrianStaskawicz ผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลพันธุกรรมทั้งหมดทางการเกษตร สถาบบันนวัตกรรมด้านข้อมูลพันธุกรรมทั้งหมด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ Dr. MatinQaim, ศาสตราจารย์จากหน่วยงานนานาชาติด้านเศรษฐกิจทางอาหารและการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัย Goettingen และ Dr. Clint Nesbitt ผู้อำนวยการอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์และการกำกับดูแลกิจการฝ่ายอาหารและการเกษตรองค์การนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

        คณะผู้เชี่ยวชาญ อธิบายว่า มนุษย์ได้ดัดแปลงพันธุกรรมของพืชและสัตว์มาเป็นพัน ๆ ปี และการแก้ไขยีนเป็นนวัตกรรมล่าสุดในความพยายามที่ยาวนาน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการผลิตแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ พวกเขาเน้นย้ำว่า เครื่องมือทางพันธุกรรมเช่น CRISPR สามารถช่วยลดการใช้สารเคมี และมลพิษและเพิ่มการผลิตอาหารโดยไม่ต้องเพิ่มการใช้ที่ดิน และน้ำ สามารถตอบสนองต่อความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นของประชากรที่กำลังการขยายตัวในประเทศกำลังพัฒนา

         ครับ แนวความคิดของรัฐบาลถูกชักนำจากเอ็นจีโอ ให้นำไปสู่การเกษตรยั่งยืนด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ แต่นั่นไม่ใช่หนทางเดียวที่จะนำไปสู่การเกษตรยังยืน ยังมีระบบเกษตรก้าวหน้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเช่น CRISP ที่มีแนวทางเดียวกับระบบเกษตรอินทรีย์ คือการลดใช้สารเคมี โดยไม่ต้องมีการแบนอย่างเช่นที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน

        อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.fao.org/webcast/home/en/item/5136/icode/?lang=en&q=high