โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
มีการคาดการกันว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของบังกลาเทศ จะประกาศอนุญาตให้ “ข้าวสีทอง(golden rice)” สามารถปลูกได้ในเชิงพาณิชย์ ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศบังกลาเทศ เป็นประเทศแรกของโลกที่ยอมรับข้าวสีทอง ที่สามารถช่วยเด็กจำนวนนับแสน นับล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาจากโรคตาบอดและเสียชีวิต ที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ
กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมานักวิจัยได้ทำงานเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีเบต้าแคโรทีน (beta carotene)ในระดับที่สูงขึ้นซึ่งร่างกายมนุษย์จะเปลี่ยนเบต้า แคโรทีน ให้เป็นวิตามินเอ และตามที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า “เด็กที่ขาดวิตามินเอมีประมาณ 250,000 ถึง 500,000 คนทุกปี ที่เป็นโรคตาบอด
บริษัท Ingo Potrykus ผู้ร่วมคิดค้นข้าวสีทองกับ Peter Beyer ได้ประมาณการว่า การปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาล เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (GMOs) ที่เกิดจากแนวทางปฏิบัติของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol) และหลักการป้องกันไว้ก่อน (precautionary principle) ทำให้เกิดความล่าช้าถึง10 ปีในการพัฒนาพันธุ์ข้าวสีทองในขั้นสุดท้าย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเด็กจำนวนนับไม่ถ้วนในประเทศกำลังพัฒนายังคงตาบอด และเสียชีวิตและสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ก็ได้รับอันตรายจากการขาดวิตามินเอ เช่นกัน
ถ้าบังกลาเทศอนุญาตให้ปลูกข้าวสีทองจริง และถ้าเด็กที่ขาดวิตามินเอได้บริโภคข้าวดังกล่าว ก็จะสามารถช่วยให้เกิดการมองเห็น และช่วยชีวิตของเด็กเหล่านั้น ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลและนักวิจารณ์จีเอ็มโอจะต้องมีคำอธิบายในประเด็นดังกล่าว
ครับ ดูความสำเร็จของประเทศอื่นไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.washingtonpost.com/opinions/2019/11/11/golden-rice-long-an-anti-gmo-target-may-finally-get-chance-help-children/