สถานการณ์การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้าปี 2561

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

        คราวที่แล้วได้พูดถึงสถานการณ์การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกในปี 2561 คราวนี้จะพูดถึงสถานการณ์การปลูกพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่เน้นเฉพาะเชิงการค้าปี 2561 ครับ

         เทคโนโลยีชีวภาพสามารถใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชให้ทนต่อความเครียดและมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของมนุษย์ พืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมแต่ละชนิดจะถูกประเมินความปลอดภัยเป็นราย ๆ ไป

        ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชดังกล่าว ซึ่งได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ในตลาด จะถูกตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวด พืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมควรได้รับการพิจารณาว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มผลผลิตพืชและเพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร

         องค์การไอซ่า (ISAAA – International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications) ได้สนับสนุนข้อความดังกล่าวข้างต้น โดยให้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการเผยแพร่สถานการณ์ของพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกเชิงการค้าระดับโลก

          พื้นที่ของพืชเทคโนยีชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 113 เท่าจาก 10.62 ล้านไร่ ในปี 2539 เป็น 1,198.12ล้านไร่ในปี 2561 ทำให้พืชเทคโนยีชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชที่ยอมรับกันเร็วที่สุดในปัจจุบัน

         ในช่วงเวลา 23 ปี (2539 -2561) ของการปลูกพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้า มีพื้นที่ปลูกสะสมเพิ่มขึ้นถึง 15.62 พันล้านไร่

         การยอมรับอย่างสูงของพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงดำเนินต่อไป ล่าสุดในปี 2561 มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1,198.12 ล้านไร่ทั่วโลก จากทั้งหมด 26 ประเทศ

         ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่ปรากฏในรายงานมี 4 ประเทศ ที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และอินโดนีเซีย

ครับ สำหรับประเทศไทยเรานั้น แม้การลดลองในภาคสนาม รัฐบาลยังไม่อนุญาตครับ!
          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/resources/publications/briefs/54/executivesummary/default.asp