สถานภาพการปลูกพืชจีเอ็มโอทั่วโลกในปี 2561

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          องค์การไอซ่า (ISAAA) ได้จัดทำรายงานสถานภาพการปลูกพืชดัดแปลงดัดแปลงพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอทั่วโลก สำหรับปีเพาะปลูกที่ผ่านมา (ปี 2561) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้:

        1. สำหรับ 5 อันดับแรกของประเทศที่มีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา แคนาดาและอินเดีย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกรวมกันทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 91 ของพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลก

                                                 แปลงข้าวโพดดัดแปลงพันุกรรมในสหรัฐอเมริกา   

       2. ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีพื้นที่ปลูกคิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลก

         3. พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะร่วมหลายลักษณะ (stacked traits) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่ปลูกคิดเป็นร้อยละ 42 ของพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลก

          4. เกษตรกรใน 10 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมรวมกันทั้งหมด 496.25 ล้านไร่

          5. ใน  9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมรวมกันทั้งหมด 119.56 ล้านไร่

          6. ในเอเชีย ประเทศอินโดนีเซียปลูกอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งเป็นปีแรก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง University of Jember และภาคเอกชน (Ajinomoto Ltd. )

          7. ราชอาณาจักร eSwatini (เดิมชื่อสวาซิแลนด์ – Swaziland) ได้เข้าร่วมกับแอฟริกาใต้ และซูดานในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในแอฟริกาด้วยการปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู

          ส่วนประเทศไนจีเรีย เอธิโอเปีย เคนยา และมาลาวี ได้รับการอนุญาตให้ปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูเช่นกัน ซึ่งเป็นการเปิดการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมในทวีปแอฟริกา

         8. ในยุโรป ประเทศสเปน และโปรตุเกส ยังคงปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (European corn borer)

          9. ยังมีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม ตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค พืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น รวมถึงมันฝรั่งที่ดัดแปลงพันธุกรรมไม่ให้มีรอยช้ำ ไม่ทำให้เกิดสีน้ำตาล มีอะคริลาไมด์ (acrylamide) ลดลงและมีต้านทานโรคใบไหม้แอปเปิ้ลดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่ทำให้เกิดสีน้ำตาล มะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงและหญ้าอัลฟัลฟาที่ดัดแปลงพันธุกรรมให้มีลิกนิน(lignin) ต่ำและพืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่น ๆ

           10. มีพันธุ์พืชใหม่ที่มีการรวมหลายลักษณะปลูกในแปลงเกษตรกร เช่น อ้อยที่มีลักษณะต้านทานแมลงศัตรูและทนแล้งคาโนลา และดอกคำฝอย ที่มีกรดโอเลอิคสูง

แปลงทดลองปลูกข้าวสีทองที่สถาบันอีรี่

            11. มีการอนุญาตให้ใช้ ข้าวสีทอง ข้าว Bt ฝ้ายที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช ฝ้ายที่มี gossypol ต่ำและพืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่น ๆ เป็นอาหารอาหารสัตว์และการแปรรูปต่างๆ

            12. มีการอนุญาต ฝ้ายและถั่วเหลืองรุ่นใหม่ที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชฝ้ายที่มี gossypol ต่ำ หญ้าอัลฟัลฟาที่มีลิกนินต่ำ และทนทานสารไกลโฟเสท คาโนลาที่มีโอเมก้า -3 สูงและถั่วพุ่มที่ต้านทานแมลงศัตรู เพื่อการเพาะปลูกในปี 2562

ครับ ! สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่เพียงห้ามการปลูกพืชดัแปลงพันธุกรรมถือว่าผิดกำหมายแล้ว รัฐบาลยังไม่อนุญาตให้มีการทดลองในภาคสนามอีกด้วย

              อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://isaaa.org/resources/publications/briefs/54/