พบยีนที่ทำให้ต้นข้าวทนทานความเครียดจากเกลือและน้ำ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.พิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

         ในวารสารวิทยาศาสตร์พืช (Plant Science) ได้รายงานว่า OsNCED5 เป็นยีนที่ควบคุมความทนทานต่อความเครียดจากน้ำและเกลือ รวมถึงควบคุมอายุของใบพืชในข้าว

        เป็นที่ทราบกันดีว่า เอนไซม์ 9-cis-epoxycarotenoid dioxygenase (NCED) มีผลกระทบต่อการผลิตกรด abscisic (ABA) แต่กลไกของโมเลกุลของ NCED ในการพัฒนาพืชและการทนต่อความเครียดแบบ abiotic (ความเครียดที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต) ยังไม่เป็นที่ทราบในข้าว

        ดังนั้นนักวิจัยจาก Hunan Normal University ในประเทศจีน จึงทำการศึกษา NCED และ OsNCED5 ในข้าว เขาจึงพบว่า มีการแสดงออกของ OsNCED5 ในทุกเนื้อเยื่อ ที่ทดสอบและถูกสร้างขึ้นเมื่อต้นข้าวอยู่ในสภาพเครียดที่เกิดจากเกลือ และที่เกิดจากน้ำ รวมทั้งความมืด

       เมื่อยีนถูกปิดการทำงาน ต้นข้าวจะมีความเข้มข้นของ ABA ที่ลดลงและความทนทานต่อความเครียดของเกลือและน้ำก็ลดลง รวมถึงความล่าช้าในการชราภาพของใบ

       ในทางตรงกันข้ามต้นข้าวที่มี OsNCED5 จะแสดงออกของระดับ ABA ที่สูงขึ้นเพิ่มความทนทานต่อความเครียดและความชราภาพของใบไม้ที่รวดเร็ว

         จากผลการวิจัยพบว่า ยีน OsNCED5 สามารถใช้ในการควบคุมการพัฒนาและการต้านทานความเครียดผ่านการกำกับดูแลการผลิต ABA ในต้นข้าว

        ต้องเร่ครับ ในสภาวะแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อทนทานสภาวะแล้ง ต้องเร่งรัดอย่างจริงจังครับ!

        อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168945219305552