ยืนยันการใช้ไนโตรเจนของข้าวโพดลูกผสมในปัจจุบัน ได้ผลผลิตดีกว่าในอดีต

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

           ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย Purdue (Purdue University) ในรัฐอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา  ได้ย้ำว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวโพดลูกผสม ได้ถูกทำให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

            วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ต้องการระบุว่า ต้นข้าวโพดได้ใช้ไนโตรเจนตลอดหลายปีที่ผ่านมาอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับลูกผสมในอนาคต

         อ้างถึง Tony Vyn ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาพืชไร่ของ Purdue University ได้สังเกตเห็นว่า “มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ในประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในข้าวโพดลูกผสม ซึ่งส่งผลให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น เนื่องจากลูกผสมสมัยใหม่สามารถดูดซับไนโตรเจนจากปุ๋ยที่ให้ได้ดีกว่า

          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การปรับปรุงทางพันธุกรรมในข้าวโพดลูกผสม ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวโพดร้อยละ 89 และการใช้ไนโตรเจนที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ73 จากพันธุ์ลูกผสมในระยะแรกจนถึงพันธุ์ลูกผสมในปัจจุบัน จากปุ๋ยไนโตรเจนที่ไม่ถูกดูดซับเหลือน้อยและสูญเปล่าเมล็ดที่สร้างจากไนโตรเจนที่ดูดซับจะเพิ่มขึ้นจาก 42 ปอนด์ของเมล็ดข้าวโพดต่อปอนด์ของไนโตรเจนที่ถูกนำไปใช้ในพืชเป็น 65 ปอนด์ของเมล็ดข้าวโพด

         นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์เกี่ยวกับการปรับปรุงผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนอย่างต่อเนื่องที่รวมอยู่ในรายงานการศึกษานี้ด้วย

        ครับ งานนี้ชี้ให้เห็นว่า การปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเพิ่มผลผลิตพืชและรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนครับ!

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://purdue.edu/newsroom/releases/2019/Q3/study-highlights-nitrogen-efficiency-gains-in-corn-hybrids-over-70-years.html