โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแอฟริกา (African cassava mosaic virus – ACMV) มีความเชื่อมโยงกับความอดอยากและมีความเชื่อมโยงทางอ้อมต่อการเสียชีวิตของผู้คนหลายพันคน
มีหลายกลุ่มคนที่ได้ทำการตรวจสอบ / หาวิธีการปรับปรุงพันธุ์หรือวิธีการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มันสำปะหลังมีความต้านทานทางวิศวกรรมต่อ ACMV กันอย่างเข้มข้น มีการศึกษาจีโนมชีววิทยา (Genome Biology) นำโดย Mehta และคณะ โดยใช้วิธี CRISPR – Cas (กลไกที่ใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากการบุกรุกของสารพันธุกรรมแปลกปลอม) ในมันสำปะหลัง
สิ่งที่พวกเขาพบ อย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน คือ การแตกตัวของไวรัสที่เป็นผลมาจาก Cas9 นั้นไม่เพียงพอที่จะสร้างความต้านทานต่อการเข้าทำลาย ที่ต้องเผชิญกับการจำลองจีโนมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยัง กล่าวว่า การใช้วิธีการ CRISPR – Cas ในการป้องกันการเททำลายของเชื้อไวรัสในวงศ์ geminivirus อาจไม่สามารถใช้งานได้ และในความเป็นจริง อาจผลักดันให้เกิดการวิวัฒนาการของไวรัสในวงศ์ geminiviruses ให้เร็วขึ้น
ความล้มเหลวในการแสดงออกซึ่งความต้านทานในมันสำปะหลัง อาจเกิดจากการแสดงออกที่ไม่เพียงพอของ Cas9 และ / หรือ sgRNA
จึงทำให้ความถี่ของจีโนมที่ถูกทำให้แตกตัว ไม่สามารถทำได้เร็วกว่า การจำลองจีโนม นั่นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคาดเดาในความเป็นจริง
ครับ จนถึงขณะนี้ อาจบอกได้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสร้างพันธุ์มันสำปะหลังให้ต้านทานต่อโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแอฟริกาได้ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไร
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41587-019-0169-0