ไนจีเรียปลูกถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมกันแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข้อเขียนของ Dr. Sarah Evanega ผู้ซึ่งเป็นนักชีววิทยาพืชและผู้อำนวยการของ Alliance for Science เขียนจาก Cornell University เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้หัวข้อที่ว่า”ไนจีเรียจะเป็นประเทศผู้นำทางด้านนวัตกรรมเกษตรหรือไม่”ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

           ไนจีเรียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาและเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมด้วยการส่งออกอุตสาหกรรมภาพยนต์(Nollywood)ที่ได้รับความนิยมตลอดทั่วทั้งทวีป แต่ไนจีเรียสามารถเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมได้หรือไม่?

           นั่นคือคำถามที่ถูกถามไปทั่วโลก หลังจากที่รัฐบาลไนจีเรียอนุมัติให้ใช้ถั่วพุ่ม (cowpea) ดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อแมลงศัตรู ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเพราะถั่วพุ่มจะเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ใช้เป็นอาหารพืชแรกของแอฟริกาที่พัฒนาขึ้นสำหรับเกษตรกรรายย่อยนอกเหนือจากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้

            เป็นผลให้ผู้ที่สนับสนุนและผู้ต่อต้านความก้าวหน้าในการเกษตรเริ่มเผชิญหน้าเพื่อการต่อสู้ ซึ่งจะมีผลไม่เพียงแต่ในประเทศไนจีเรียเท่านั้น แต่มีผลต่อแอฟริกาโดยรวม นวัตกรรมนี้จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่และจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาการเกษตรทั่วทั้งทวีปได้หรือไม่หรือจะถูกปิดกั้นด้วยเหตุผลของความกลัวและต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

            ผลผลิตที่ต่ำมากสำหรับการทำการเกษตรเพื่อยังชีพ นั่นคือเหตุผลหลักที่ไนจีเรียไม่สามารถปลูกถั่วพุ่มได้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ถึงแม้ว่าการขาดปัจจัยการผลิตจะเป็นหนึ่งปัจจัยแต่ถั่วพุ่มก็ถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืชที่เรียกว่าหนอนเจาะฝัก (Pod borer) ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียได้ถึงร้อยละ 80 หรือมากกว่าของการเพาะปลูก

            เกษตรกรมีสองวิธีในการต่อสู้กับหนอนเจาะฝัก วิธีแรกคือ การพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อฆ่าแมลง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเนื่องจากการปนเปื้อนของสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้จำนวนมาก เป็นสารที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปและในที่อื่น ๆ เนื่องจากมีความเป็นพิษและตกค้างสูงมากจนถั่วพุ่มของไนจีเรียไม่สามารถส่งออกได้

             วิธีที่สองคือการใช้ยีนต้านทานซึ่งรู้จักกันในชื่อ Bt เนื่องจากมีต้นกำเนิดในแบคทีเรียดินทั่วไปและไม่เป็นอันตรายซึ่งยีนนั้นได้ถูกถ่ายฝากโดยใช้พันธุวิศวกรรมแทนที่จะถูกนำไปใช้เช่นเดียวกับที่ทำโดยเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์

            นี่เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรียได้พัฒนาถั่วพุ่มบีที ยีนบีทีนี้ได้ถูกถ่ายฝากเข้าไปในข้าวโพด มะเขือม่วง ฝ้ายและพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด และใช้เพาะปลูกอย่างปลอดภัยทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ

             คาดว่าเกษตรกรที่ใช้ถั่วพุ่มบีที จะสามารถลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชลงได้อย่างมาก โดยลดลงตั้งแต่ร้อยละ50 -80 ทำให้เกษตรกรประหยัดเงินและปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและความมั่นคงทางอาหารถั่วพุ่มบีทียังช่วยเพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ 20

               อย่างไรก็ตาม ก็มีกลุ่มต่อต้านการใช้ถั่วพุ่มบีที เพราะถั่วพุ่มบีทีได้รับการพัฒนาโดยใช้พันธุวิศวกรรมจึงได้รับการติดแท็ก “จีเอ็มโอ” โดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมากทั้งในไนจีเรียและในประเทศเพื่อนบ้าน

             กลุ่มต่อต้านพยายามขัดขวางการเข้าถึงถั่วพุ่มบีทีของเกษตรกร ซึ่งก็หมายความว่ายังต้องการให้เกษตรกรในชนบทได้รับผลผลิตต่ำและยังต้องพึ่งสารกำจัดศัตรูพืช

            มันเป็นเรื่องน่าขันที่องค์กรพัฒนาเอกชนเหล่านี้หลายคนเรียกตัวเองว่า กลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่ในกรณีนี้การต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมเท่ากับเป็นการส่งเสริมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

            นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การใช้ยีน Bt(พืชดัดแปลงพันธุกรรม) นั้นจะช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงศัตรูได้ถึงร้อยละ 40 ทั่วโลก ซึ่งไม่รู้ว่าทำไมนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่แท้จริงจึงคัดค้านความก้าวหน้านี้ที่นำไปสู่การเพาะปลูกที่ยั่งยืนและที่ดีต่อสุขภาพ

           กลยุทธ์ที่แพร่หลายและน่าวิตกที่สุดที่นักกิจกรรมต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมนำมาใช้คือการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับพืชและพันธุวิศวกรรมโดยทั่วไปเพื่อพยายามทำให้เกิดความกลัวและจุดประกายการปฏิเสธของประชาชน

             ดังนั้นองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งของไนจีเรีย นั่นคือ มูลนิธิสุขภาพแม่ธรณี (Health of Mother Earth Foundation – HOMEF) จึงแพร่ข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงว่ายีนบีทีที่ถ่ายฝากนั้นมีผลกระทบที่เป็นพิษต่อเซลล์ตับมนุษย์

              ทั่วโลกได้เห็นพ้องต้องกันทางวิทยาศาสตร์ว่า พืชที่พัฒนาโดยการดัดแปลงทางพันธุกรรมมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นฉันทามติในระดับเดียวกับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความปลอดภัยของการฉีดวัคซีน

           การปฏิเสธวิทยาศาสตร์และฉันทามติเกี่ยวกับความปลอดภัยทำให้เกิดเรื่องการระแวดระวัง ที่สำคัญในประเทศไนจีเรีย ครั้งแรกในปี 2546 และล่าสุดในปี 2560 มีข่าวลือแพร่กระจายไปทั่วที่ต่อต้านวัคซีนโปลิโอ เป็นการขัดขวางโปรแกรมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กเล็ก เป็นผลให้ไนจีเรียเป็นหนึ่งในสามประเทศที่โรคโปลิโอยังถือว่าเป็นโรคประจำถิ่น อีกสองประเทศคือ อัฟกานิสถาน และปากีสถาน

            ข่าวลือจำนวนมากเหล่านี้เป็นทฤษฎีการสมคบคิดที่อ้างว่า บุคคลภายนอกกำลังพยายามทำร้ายเด็กชาวไนจีเรีย ชุดรูปแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในวาทกรรมต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในทำนองเดียวกันเพื่อป้องกันความก้าวหน้าในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตรและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และปกป้องการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม นี่อาจฟังดูล่อลวง แต่จริงๆแล้วมันหมายถึงการทำให้คนในชนบทมีความยากจน

           แน่นอนว่าความก้าวหน้านั้นทำให้เกิดการต่อต้านเสมอ นักวิชาการชาวเคนยาที่ชื่อ CalestousJuma“ได้เขียนหนังสือเล่มล่าสุดที่ชื่อ นวัตกรรมและศัตรูของนวัตกรรม: ทำไมผู้คนจึงต่อต้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ” ซึ่งได้บันทึกการคัดค้านต่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยีตั้งแต่เรื่องของการพิมพ์ไปจนถึงเครื่องทำความเย็นเชิง และกาแฟ

           ในขณะที่ผู้ที่กลัวนวัตกรรมสร้างเริ่มส่งเสียงดังจำนวนมากผู้ที่ยืนหยัด (เกษตรกร) เพื่อให้ได้ซึ่งความก้าวหน้า จึงต้องดิ้นรนเพื่อให้รับรู้ว่า พวกเขาต้องการเมล็ดพันธุ์ที่ดีอย่างเช่นถั่วพุ่มบีทีซึ่งช่วยลดต้นทุนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า

           นาย Daniel Okafor ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มของสมาคมเกษตรกรทั้งหมดไนจีเรียได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า สมาชิก (เกษตรกร) ของเขาพร้อมและเต็มใจที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ลดการสูญเสียและเพิ่มผลผลิต

        ดังนั้นนี่คือตัวเลือกที่ไนจีเรียต้องทำ นวัตกรรมควรได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อปรับปรุงชีวิตของเกษตรกรที่ยากจนที่สุดหรือควรใช้ความกลัวจากการที่ไม่รู้ข้อมูลเพื่อสกัดกั้นนวัตกรรม

         ไม่ได้เป็นเพียงแค่แอฟริกาเท่านั้น แต่โลกทั้งโลกกำลังเฝ้ามองดูว่าไนจีเรียตอบสนองอย่างไร

         ครับ เกษตรกรไทยก็คงได้แต่เฝ้าดูประเทศอื่น ๆ ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม และคงไม่มีโอกาสได้ปลูกต่อไป

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://tribuneonlineng.com/219371/