โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ต้นเกาลัดอเมริกันที่ทนทานต่อโรคใบไหม้ เป็นตัวอย่างล่าสุดของสิ่งที่ชุมชนวิทยาศาสตร์ได้เริ่มที่จะเรียกว่า GRO (genetically rescued organism) หรือสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการช่วยเหลือทางพันธุกรรม
ในศตวรรษที่ผ่านมาต้นเกาลัดได้หายไปราวสี่พันล้านต้นในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเชื้อรา Cryphonectriaparasiticaที่มาพร้อมกับต้นเกาลัดนำเข้าจากเอเชีย จากที่เป็นไม้เนื้อแข็งพันธุ์เด่น แต่ตอนนี้กลับหาได้ยาก
ธรรมชาติเรื่องของความไม่แน่นอน แต่การใช้วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาจะเป็นวิธีการที่แม่นยำในการต่อสู้กับเชื้อโรคทางธรรมชาติ พืชบางชนิด มีความต้านทานต่อเชื้อราและนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเหมาะสมที่จะใช้เครื่องมือในการดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อช่วยให้ต้นเกาลัดใช้ยีนที่มีประโยชน์จากพืชชนิดอื่น ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นการฉีดวัคซีนพืชเพื่อป้องกันเชื้อรา
ต้นเกาลัดอเมริกันไม่ได้เป็นพืชชนิดแรกที่ถูกดึงกลับออกมาจากความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดของ GRO ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือมะละกอสีรุ้ง (rainbow papaya) ซึ่งได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อไวรัส จุดวงแหวนที่เคยลงทำลายมะละกอในหมู่เกาะฮาวายเมื่อปี 2533
ครับ เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมนี้ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาในการผลิตพืช ซึ่งช่วยลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม แต่รัฐบาลแห่งประเทศไทย ยังไม่ต้องการครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wsj.com/articles/science-saves-an-old-chestnut-11560985013