การทำแปลงสาธิตพันธุ์ข้าวโพด GM ในเคนยา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          ขออนุญาตนำบทความของ VerenardoMeeme ซึ่งเป็นนักข่าววิทยาศาสตร์ และผู้ให้การสนับสนุนเครือข่ายวิทยาศาสตร์และการพัฒนาในสหราชอาณาจักร (SciDev.Net) มาเผยแพร่ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

          นักวิทยาศาสตร์ชาวเคนยา ได้ปลูกแปลงสาธิตในภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศเพื่อแสดงให้เห็นว่าข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม (GM) มีความสามารถในการต่อสู้กับภัยแล้งและศัตรูพืช โดยเปรียบเทียบกับข้าวโพดพันธุ์ปกติ

           ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การสาธิตนี้จะสร้างการรับรู้และแบ่งปันข้อมูล ที่เกี่ยวกับข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมของ Kenya’s TELA Maize Project ที่มีลักษณะร่วม (stacked traits) ของการต้านทานแมลงศัตรูและการทนแล้ง ซึ่งผู้กำหนดนโยบายและเกษตรกรสามารถเห็นได้ด้วยตนเองว่า พันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมและพันธุ์ข้าวโพดปกติ แสดงออกอย่างไรภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน

           นักวิทยาศาสตร์หวังว่าการสาธิตจะช่วยให้เข้าใจเทคโนโลยีชีวภาพอย่างชัดเจนและสนับสนุนให้ผู้ร่างกฎหมายยกเลิกการห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมของเคนยาซึ่งเป็นกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เกษตรกรได้มีโอกาสเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้ว

            Dr. Stephen Mugo ผู้แทน CIMMYT ระดับภูมิภาคสำหรับแอฟริกาและตัวแทนประเทศสำหรับเคนยา กล่าวว่า เทคโนโลยีชีวภาพได้รับการพิสูจน์แล้วซึ่งได้มีการปลูกโดยเกษตรกรนับล้านทั่วโลก และอยากให้ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ยากจน

           James Karanja ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบโครงการ กล่าวว่า การใช้ข้าวโพดที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและป้องกันแมลงศัตรู สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ10 หรือเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านถุงจากพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมดในทุกฤดูปลูก

          การสาธิตนี้จะช่วยระบุพันธุ์ข้าวโพดที่สามารถนำไปใช้ในการทดสอบระดับชาติ (National Performance Trials – NPT) ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันที่ใช้กับฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานศัตรูพืช ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่นำมาทดสอบนี้ ได้รับการพัฒนามาจากโครงการ Water Efficient Maize for Africa (WEMA) ซึ่งมีการพัฒนาทั้งพันธุ์ปกติและพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม

            นอกจากความทนทานต่อความแห้งแล้งแล้วข้าวโพดของ Kenya’s TELA Maize Project ยังให้การป้องกันแมลงด้วยการเพิ่มยีนจาก Bacillus thuringiensis (Bt) ซึ่งเป็นแบคทีเรียดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูในการทำเกษตรอินทรีย์ แม้ว่าจะมุ่งเป้าไปที่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด แต่ข้าวโพดของKenya’s TELA Maize Projectได้แสดงให้เห็นว่ามีความต้านทานระดับหนึ่งต่อ fall armyworm

            Karanja กล่าวว่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดต้นฤดูที่ Bometในเขต Rift Valley ของเคนยากำลังรื้อทิ้งต้นข้าวโพดเพื่อปลูกใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นผลกระทบจากภัยแล้ง” นอกจากนี้ เกษตรกรยังประสบกับความสูญเสียอันยิ่งใหญ่เนื่องจากแมลงศัตรูพืช ผลการสำรวจในปี 2560แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรเคนยาสูญเสียผลผลิตข้าวโพดไปร้อยละ15 ถึง 20 จากการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้นแต่การสูญเสียจากfall armyworm จะสูงมากกว่า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ60 ถึง 100

             Karanja  กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้ารวมความเสียหายที่เกิดจากหนอนทั้ง 2 ชนิด เกษตรกรเกือบจะไม่ได้อะไรเลย” “จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการอนุมัติให้ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม และในฐานะนักวิทยาศาสตร์เราพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้โดยรู้ว่าพ่อแม่ของเราจะใช้มัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่เราทำในสิ่งที่ไม่ดี เราอยู่ที่นี่เพื่อความปรารถนาดีของประเทศ

           Mugo อธิบายว่า นักวิทยาศาสตร์มักจะมองหาวิธีในการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และสารกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีที่ถูกใช้บ่อยที่สุด แต่มีราคาแพงสำหรับเกษตรกรรายย่อยและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเมื่อปนเปื้อนลงสู่ดินและน้ำ การปลูกพืชบีทีที่ต้านทานแมลงศัตรู (พืชดัดแปลงพันธุกรรม) จะช่วยลดความต้องการสารป้องกันกำจัดแมลงได้อย่างมาก

           Maurice Omondi  ซึ่งเป็นนักศึกษาด้านพืชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไนโรบี (University of Nairobi) กล่าวว่า การทำแปลงสาธิตมีความหมายอย่างมากสำหรับเราเพราะเป็นสิ่งที่ใช้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพันธุ์พืช ที่จะช่วยเกษตรกรและห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรรวมถึงการแก้ปัญหาการเกษตรแบบถาวรเช่นความแห้งแล้งและแมลงศัตรูพืช “เทคโนโลยีชีวภาพมีความสำคัญต่อเราเพราะมันเป็นแรงผลักดันให้เราได้รับโอกาสในการทดลองข้าวโพดและพืชสำคัญอื่น ๆ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน”

           เขาเน้นว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้นดีสำหรับเกษตรกรเพราะเทคโนโลยีจะช่วยลดต้นทุนในการควบคุมศัตรูพืชและภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง

          Omondi  กล่าวว่า “ฉันได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการศึกษาด้านพืชศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีผลงานวิจัยแต่ไม่สามารถใช้ในประเทศของฉันเองได้เนื่องจากการห้ามนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม” “มันเป็นเรื่องที่น่าขันสำหรับรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุนเราในการศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพ แต่ก็ห้ามการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หากมีการยกเลิกการห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ในอีกสองปีข้างหน้าเคนยาจะเป็นอิสระด้านอาหาร”

         โครงการ TELA maize project เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเพื่อปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนแล้งและแมลงศัตรู เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารใน sub-Saharan AfricaMugoกล่าวว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะช่วยเกษตรกรที่ยากจนในเอธิโอเปียเคนยาโมซัมบิกแอฟริกาใต้แทนซาเนียยูกันดาและไนจีเรีย

         งานวิจัยของ Kenya’s TELA Maize Projectก่อกำเนิดมาจากความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นเป็นทศวรรษของงานปรับปรุงพันธุ์ภายใต้โครงการ WEMA ซึ่งปลดปล่อยข้าวโพดลูกผสมปกติมากกว่า 70 พันธุ์ ที่มีอยู่แล้วในตลาด

         ครับ ก็อยากเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเหมือนกัน เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายและเกษตรกรสามารถเห็นได้ด้วยตนเองว่า พันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมและพันธุ์ข้าวโพดปกติ แสดงออกอย่างไรภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2019/06/kenya-plants-first-field-trials-drought-tolerant-insect-resistant-gmo-maize/