โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หากปราศจากดินที่มีสุขภาพดี (healthy soils) ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ที่นำไปสู่การกักเก็บคาร์บอน ดินมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหาร เช่นเดียวกับการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเช่นพืชที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ทำให้การปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์ไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเพื่อรักษาสุขภาพของดินด้วยผลของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อสุขภาพของดิน
การประเมินสุขภาพของดิน ขึ้นอยู่กับว่าดินมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชอย่างไร บทบาทการส่งเสริมการเจริญเติบโตนี้ ควรที่จะได้รับการสงวนไว้สำหรับใช้ในอนาคต
พืชที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช (HT) ซึ่งทนต่อการสัมผัสกับสารกำจัดวัชพืชวงกว้าง เช่น glyphosate และ glufosinate ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ปลอดภัยที่สุดที่ใช้ในการเกษตร
เมื่อพืช HT สัมผัสกับสารกำจัดวัชพืช พืชชนิดนี้จะไม่ตายไม่เหมือนกับวัชพืชที่อยู่รอบ ๆ ซึ่งจะตาย ดังนั้นการปลูกพืช HT จึงเป็นการส่งเสริมการไม่ไถพรวนหรือการไถพรวนเชิงอนุรักษ์ หลังจากการใช้สารกำจัดวัชพืชวัชพืชจะตายและจะกลายเป็นเสมือนสิ่งที่ปกป้องดินจากการชะล้าง ด้วยการไถพรวนน้อยหรือไม่ไถพรวน ก็จะมีการพังทลายของดินน้อยลง ซึ่งจะหมายถึงการกักเก็บน้ำได้มากขึ้นและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง
ครับ เป็นที่ทราบกันดีว่า การไถพรวนที่มากเกินส่งผลกระทบทางลบต่อการสุขภาพดินและปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น การลดการไถพรวนโดยการเพาะปลูกด้วยพืชที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/resources/publications/pocketk/57/default.asp