โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เกษตรกรจีนกำลังเผชิญกับปัญหาที่เลวร้ายกับวัชพืชที่มีชื่อว่า goatgrass (หญ้าที่แพะชอบกิน) หรือมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegilopstauschii ซึ่งมีความใกล้ชิดกับข้าวสาลี และเจริญเติบโตในแปลงข้าวสาลีของพวกเขา
ในปัจจุบันเกษตรกรกรจีนต้องใช้ Mesosulfuron ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้พ่นทางใบเพียงอย่างเดียวเพื่อกำจัดวัชพืชดังกล่าว แต่สารกำจัดวัชพืชที่ใช้นั้นมักจะทำลายต้นข้าวสาลีด้วยเช่นกัน
ในที่สุดเกษตรกรจีนสามารถเปลี่ยนมาใช้ imidazolinone (IMI) ได้ แต่สารนี้มีพิษตกค้างอยู่ในดิน และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อพืชที่ปลูกตามมา แม้ว่าจะเว้นระยะในการปลูกเป็นเดือนหรือเป็นปี
ดังนั้นข้าวสาลีที่ไม่ดัดแปรพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชจึงไม่เป็นที่ต้องการของเกษตรกรหลายล้านคนในการต่อสู้กับวัชพืช
เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีมวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์ GAO Caixiaและ LI Jiayang จากสถาบันพันธุศาสตร์และชีววิทยาการพัฒนา (Institute of Genetics and Developmental Biology) ของ Academy of Sciences แห่งประเทศจีนได้สร้างเชื้อพันธุกรรมข้าวสาลีที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชจำนวนมาก เพื่อช่วยในการควบคุมวัชพืชในแปลงข้าวสาลี
บทความเรื่อง “การสร้างลักษณะความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชและเครื่องหมายใหม่ที่ใช้ในการคัดเลือกในข้าวสาลีโดยใช้การแก้ไขเบส” (Generation of herbicide tolerance traits and a new selectable marker in wheat using base editing) ได้เผยแพร่ทางออนไลน์ใน Nature Plants เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา
ครับ ก็แล้วแต่มุมมองและการบริหารจัดการของแต่ละรัฐบาล สำหรับประเทศไทยถ้าต้องการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาทางการเกษตร คงต้องรออีกนาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://english.cas.cn/newsroom/research_news/201904/t20190412_208369.shtml