เทคนิคใหม่ในการแก้ไขจีโนม (แก้ไขยีน)

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสภาษิต

         นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการแก้ไขจีโนมหรือการแก้ไขยีน และเรียกว่าเทคนิคนี้ว่า haploid induction editing (HI-Edit)(การแก้ไขในโครโมโซมชุดเดียว)ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชเชิงพาณิชย์

          HI-Edit หมายถึงกระบวนการสืบพันธุ์ของการชักนำให้เกิดโครโมโซมชุดเดียว (HI) ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และยาสูบ รวมกับเทคโนโลยีในการแก้ไขจีโนม หรือแก้ไขยีน เช่น CRISPR-Cas9 การใช้ HI-Edit นักปรับปรุงพันธุ์พืช สามารถปรับเปลี่ยนพืชในระยะต่าง ๆ ในกระบวนการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ และเวลามากในการดำเนินงาน ซึ่งจะใช้เวลาเพียงเจ็ดปีจึงจะเสร็จสมบูรณ์

           ในขณะที่งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ข้าวโพดไร่ และข้าวโพดหวาน แต่ก็มีหลักฐานว่าเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับข้าวสาลีได้ นักวิจัยกำลังทำงานในวิธีการที่คล้ายกันนี้ ในพืชสกุลที่เกี่ยวข้องกับกะหล่ำปลีบรอคโคลี่กะหล่ำดอกและคะน้าซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การทำในถั่วเหลืองและมะเขือเทศ

          ครับ เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม – genetic engineering กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้วครับ ประเทศไทยยังก้าวไปไม่ถึงเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเลยครับ เรียกว่าล้าหลังได้หรือยังครับ

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.syngenta-us.com/newsroom/news_release_detail.aspx?id=209727